หลายคนอาจเคยพบเห็นผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเข็มกลัดคนท้อง และคงเกิดข้อสงสัยว่าทำไมคนท้องต้องติดเข็มกลัด รวมถึงอีกหลากหลายคำถามที่ค้างคาใจเกี่ยวกับการติดเข็มกลัดคนท้อง ซึ่งในบทความนี้ V Fertility Center จะมาช่วยไขข้อสงสัยให้ได้รู้กัน
เข็มกลัดคนท้องคืออะไร ? ทำไมจึงต้องติดเข็มกลัดคนท้อง ?
เข็มกลัดคนท้อง หรือที่บางคนเรียกว่า “เข็มกลัดป้องกัน” แท้จริงแล้วคือเข็มกลัดธรรมดาที่เราใช้งานกันทั่วไป ซึ่งการติดเข็มกลัดคนท้อง มีที่มาจากความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
ป้องกันภัยอันตรายจากสิ่งที่มองไม่เห็น
คนในสมัยก่อนมีความเชื่อว่าการติดเข็มกลัดคนท้อง เป็นการปกป้องลูกในครรภ์จากอันตรายต่าง ๆ โดยเฉพาะจากสิ่งชั่วร้ายที่มองไม่เห็นหรือสิ่งเร้นลับต่าง ๆ เช่น ผี หรือวิญญาณ ทั้งยังป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้มาพรากลูกไป จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่คุณแม่หลายคนจะนำพระมากลัดไว้กับเข็มกลัดด้วย เพื่อช่วยเพิ่มความเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้น
ป้องกันไม่ให้เกิดการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อที่ว่าคนท้องติดเข็มกลัดเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแท้งลูก หรือกันลูกไว้ไม่ให้คลอดออกมาก่อนกำหนด เสมือนเป็นการแก้เคล็ดอย่างหนึ่ง ตามที่มาของชื่อ “เข็มกลัด” ที่ช่วยกลัดทารกในครรภ์ไว้ให้อยู่กับแม่จนถึงวันคลอด
แล้วเคยสงสัยไหมว่าความเชื่อนี้เป็นความจริงหรือไม่ ?
ต้องบอกว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น ความจริงแล้วการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรติดเข็มกลัด เพราะเมื่อติดเข็มกลัดไว้จะช่วยให้คนรอบข้างสังเกตเห็นได้ง่ายขึ้นว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ จึงเกิดการระมัดระวังที่จะเกิดความกระทบกระเทือนต่อเด็กในท้องและตัวคุณแม่เอง รวมถึงเป็นการเตือนคุณแม่ให้ระมัดระวังในการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ให้โดนหน้าท้องหรือเข็มกลัดที่ติดไว้ที่ท้องนั่นเอง
คนท้องติดเข็มกลัดตอนไหน ?
ไม่มีกฎตายตัวว่าคนท้องต้องติดเข็มกลัดตอนท้องกี่เดือน ซึ่งคุณแม่จะนำเข็มกลัดคนท้องมาติดตอนไหนก็ได้ที่ต้องการ โดยสามารถติดได้ตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์เลย หรือจะรอจนถึงช่วงที่ครรภ์เริ่มก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความเชื่อส่วนบุคคล แต่เพื่อประโยชน์ด้านความปลอดภัยของคนท้องและทารกในครรภ์ ขอแนะนำให้คุณแม่ติดเข็มกลัดคนท้อง เพื่อให้คนรอบข้างสังเกตเห็นจะได้ระมัดระวังและให้ความเอื้อเฟื้อแก่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้
- ติดเข็มกลัดคนท้อง ตอนที่จำเป็นต้องใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อให้คนรอบข้างระมัดระวังไม่มาเบียดหรือเดินกระแทก รวมไปถึงเอื้อเฟื้อที่นั่งให้คุณแม่ทีท้องแก่ และไม่สามารถยื่นบนรถโดยสารเป็นเวลานานได้
- หากต้องเดินทางในที่สาธารณะที่มีคนพลุกพล่าน เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ ให้คุณแม่ติดเข็มกลัดคนท้องด้วย เพื่อที่อยู่รอบข้างจะได้ระมัดระวัง ไม่เดินมากระแทก ผลักดัน จนหกล้ม หรือเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ได้
นอกจากการติดเข็มกลัดคนท้อง จะทำให้คนอื่นสังเกตเห็นคุณแม่ท้องแล้ว ยังเป็นการเตือนตัวเองว่าต้องคอยระมัดระวังในการเดินเหิน และไม่ทำกิจกรรมที่ใช้แรงมากจนเกินไป หรือเสี่ยงจะก่อให้เกิดความกระทบกระเทือน เพื่อความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์
เข็มกลัดคนท้อง ติดตรงไหน ?
เข็มกลัดคนท้องควรจะติดบริเวณหน้าท้อง โดยเฉพาะบริเวณสะดือหรือเหนือสะดือเล็กน้อย เพราะเป็นตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ทำให้คนรอบข้างสังเกตเห็นได้ง่ายว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่
คนท้องไม่ติดเข็มกลัดได้ไหม ?
คนท้องไม่จำเป็นต้องติดเข็มกลัดก็ได้ เพราะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าการติดเข็มกลัดจะช่วยป้องกันอันตรายหรือสิ่งไม่ดีได้ แต่แนะนำว่าควรติดไว้ หากต้องเดินทางไปยังสถานที่สาธารณะ เพราะการติดเข็มกลัดคนท้อง จะช่วยให้คนอื่นระมัดระวังคุณแม่มากขึ้น และช่วยให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัยมากที่สุด
ทั้งหมดนี้ คงทำให้คุณแม่เข้าใจเกี่ยวกับการติดเข็มกลัดคนท้องกันมากขึ้นแล้ว และเห็นถึงความสำคัญของการติดเข็มกลัด เพราะถึงอย่างไรการป้องกันเอาไว้ก่อนก็สามารถช่วยให้ลูกน้อยในครรภ์ปลอดภัยจากสิ่งที่ไม่คาดคิดรอบตัวได้ ทั้งยังเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ต้องการที่จะดูแลลูกน้อยให้เกิดมาอย่างแข็งแรงที่สุดด้วย
สำหรับคุณผู้หญิงที่อยากมีโอกาสเป็นคุณแม่ และตั้งครรภ์ได้สำเร็จ ที่ V Fertility Center พร้อมดูแลทุกก้าวของการมีบุตร ด้วยทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ที่มีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนได้รับการรับรองจากสมาคมด้านการเจริญพันธุ์และการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแห่งยุโรป (ESHRE : European Society of Human Reproduction and Embryology) ให้ผู้ใช้บริการทุกท่าน มั่นใจในความปลอดภัยกับทุกการบริการของเรา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร V Fertility Center
? Hotline : 082-903-2035
? Line : @vfertilitycenter(https://lin.ee/riKcYHl)
? อ่านบทความสุขภาพ : https://www.v-ivf.com/article/
ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวชวิทยาและเวชศาตร์การเจริญพันธ์ุ
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.