การแต่งงานเปรียบเสมือนการเริ่มต้นชีวิตคู่อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งนอกจากจะต้องเตรียมพร้อมสร้างครอบครัวแล้ว การวางแผนมีบุตรก็เป็นเรื่องสำคัญลำดับต้น ๆ ที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน โดยสิ่งที่คู่รักควรทำก่อนวางแผนมีบุตรก็คือ การตรวจสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงในการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมให้แก่ลูกน้อย ทั้งยังจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์
การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ต้องตรวจอะไรบ้าง ?
การตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์ มีขั้นตอนการตรวจที่สำคัญ ดังนี้
- การตรวจประเมินสุขภาพ เพื่อดูความสมบูรณ์ของร่างกาย เช่น วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจระบบหายใจ ตรวจระบบหัวใจ ตรวจเต้านม ตรวจหน้าท้อง ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ ตรวจการทำงานของตับและไต ตรวจปัสสาวะ รวมถึงการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
- การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาความเข้ากันของกรุ๊ปเลือด ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจโรคทางพันธุกรรมแฝง ตรวจหาธาลัสซีเมีย รวมไปถึงการตรวจหาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- การตรวจภายในสำหรับคุณแม่ เพื่อดูความแข็งแรงสมบูรณ์ของรังไข่ อุ้งเชิงกราน และช่องคลอด ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร
- การตรวจพิเศษก่อนตั้งครรภ์ เป็นการตรวจเพิ่มเติมเมื่อแพทย์พบความผิดปกติ เช่น อัลตราซาวนด์ช่องท้อง
5 ข้อดีของการวางแผนตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร มีข้อดีของการวางแผนตรวจสุขภาพก่อนมีบุตรมาแนะนำให้กับว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ที่ต้องการจะวางแผนมีบุตร เพื่อเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง พบว่าเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ หลังจากตรวจพบแล้วก่อนการแต่งงานหรือมีบุตร ควรที่จะปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาและวางแผนการมีบุตรได้อย่างปลอดภัยในอนาคต
เช็กความพร้อมในการมีบุตร
ควรตรวจร่างกายทั้งคุณแม่และคุณพ่อ หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสุขภาพไม่พร้อมในการมีบุตร โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีร่างกายไม่แข็งแรงพอ เมื่อมีการปฏิสนธิขึ้นคุณแม่จะเกิดภาวะแท้งคุกคาม แพทย์จะแนะนำวิธีการคุมกำเนิดให้ก่อนเพื่อชะลอการมีบุตร และเตรียมความพร้อมให้คุณแม่มีร่างกายที่แข็งแรงขึ้น
ทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์แข็งแรง
หากคุณพ่อหรือคุณแม่มีโรคติดต่อทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย ที่สามารถถ่ายทอดไปถึงลูกน้อยได้ การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และก่อนตั้งครรภ์จะช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ส่งต่อโรคร้ายไปถึงทารกได้ และการตรวจสุขภาพยังทำให้วางแผนการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นด้วย
การเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการมีบุตร
การเตรียมร่างกายให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์ก่อนการมีบุตร จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ ทั้งยังจะช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพดี โดยมีวิธีการ ดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น กรดโฟลิก แคลเซียม ธาตุเหล็ก และโปรตีน โดยควรเน้นอาหารที่มาจากผักผลไม้ ธัญพืช และโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือปลา ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและลดความเสี่ยงของปัญหาการพัฒนาของทารก
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือฝึกโยคะ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบกล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น
- ลดความเครียด โดยการทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น ฝึกการหายใจลึก ๆ หรือทำสมาธิ รวมถึงนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟู และพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์
- เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะแท้ง คลอดก่อนกำหนด และปัญหาการพัฒนาของทารก
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์
การดูแลสุขภาพให้ดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จะช่วยให้คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ได้อย่างราบรื่น ลดความเสี่ยงและเสริมสร้างความแข็งแรงของลูกน้อย แต่สำหรับคู่แต่งงานที่เมื่อตรวจสุขภาพแล้ว พบว่าตนเองเสี่ยงกับภาวะมีบุตรยาก สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อวางแนวทางการรักษาและเพิ่มโอกาสในการมีบุตรได้ที่ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรยาก VFC โดยโรงพยาบาลเวชธานี
บทความโดย แพทย์ศรมน ทรงวีรธรรม
ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline : 082-903-2035
Line : @vfccenter
อ่านบทความสุขภาพ : https://www.v-ivf.com/article/
ข้อมูลอ้างอิง:
ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวชวิทยาและเวชศาตร์การเจริญพันธ์ุ
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.