รู้หรือไม่ หนึ่งในสาเหตุที่ลดโอกาสการตั้งครรภ์ของผู้หญิงเกิดจาก “ความผิดปกติในโพรงมดลูก” ซึ่งความผิดปกติในเรื่องนี้ มีผู้หญิงอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ ซึ่งนอกจากการสังเกตตัวเองอย่างเป็นประจำแล้ว การตรวจร่างกายทุกปีก็จะช่วยตรวจหาสาเหตุมีลูกยากได้ด้วยเช่นกัน
ในบทความนี้ เราได้ทำการรวบรวมโรคที่เกิดในโพรงมดลูก พร้อมบอกสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน ให้กับผู้ที่กำลังเตรียมตัวเป็นคุณแม่ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญ จะได้เตรียมรับมือและวางแผนตั้งครรภ์ได้อย่างมั่นใจ
ความสำคัญของ “โพรงมดลูก”
โพรงมดลูกเป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญที่ต้องได้รับการตรวจเช็ก เพื่อประเมินภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากมีหน้าที่ที่คอยรับการฝังตัวของตัวอ่อน เพราะฉะนั้นความสมบูรณ์ของผนังมดลูก รวมถึงความหนาของเนื้อเยื่อส่งผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์ที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ
เยื่อบุโพรงมดลูกที่ดีควรเป็นอย่างไร?
โดยทั่วไปแล้วเยื่อบุโพรงมดลูก จะมีความหนาบางไม่เท่ากันในช่วงเวลา 1 เดือน ด้วยกลไกของร่างกายที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละช่วง กล่าวคือ ในช่วงก่อนการมีประจำเดือน ฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่จะกระตุ้นให้เยื่อบุภายในเจริญเติบโต และมีความหนาเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับกับการฝังตัวหลังมีการปฏิสนธิของไข่และอสุจิ ในขณะเดียวกันหากไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะลอกตัว จนเกิดเป็นประจำเดือนที่ขับออกมาจากร่างกาย
จะเห็นได้ว่าความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกมีความสำคัญเป็นอย่างมากกับการตั้งครรภ์ ซึ่งความหนาที่เหมาะสมต่อการฝังตัวของไข่จะอยู่ที่ 8 – 14 มิลลิเมตร แต่หากเยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาที่น้อยหรือมากกว่านี้ อาจเกิดจากความผิดปกติของการมีประจำเดือน ทั้งประจำเดือนมาช้าหรือมามากจนผิดปกติ หรือ 2-3 เดือนมาครั้ง รวมถึงอาการเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด ก็มีผลต่อการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน ซึ่งควรที่จะเข้ารับการประเมินภาวะมีบุตรยากโดยทันที เพราะนอกจากความหนาที่ผิดปกติแล้ว ยังอาจมีอาการของโรคบางอย่างภายในโพรงมดลูก ที่อาจสร้างปัญหาให้กับการมีบุตรได้อีกด้วย
โรคในโพรงมดลูกมีอะไรบ้าง?
ภาวะโพรงมดลูกอักเสบ
เป็นหนึ่งในความผิดปกติของโพรงมดลูกที่พบได้บ่อยในการตรวจหาสาเหตุมีลูกยาก โดยภาวะความอักเสบที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียในเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งส่วนมากจะลุกลามมาตั้งแต่ช่องคลอด หรือบริเวณปากมดลูกจนเข้าไปสู่ภายใน ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่จะพบได้ในวัยเจริญพันธุ์สูงกว่าวัยอื่น ๆ
- สาเหตุ
- มีฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือโปรเจสเตอโรนสูงเกินไป
- มีเชื้อแบคทีเรียไม่ดีในร่างกาย
- แพ้สารเคมีในถุงยาง หรือผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นและล้างช่องคลอด
- อาการ
- ปวดท้องน้อย ปวดช่องคลอด รวมถึงปวดหลัง
- เลือดออกจากช่องคลอด หรือเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์
- มีตกขาวสีขาวหรือเทาจำนวนมาก อาจมีกลิ่นร่วมด้วย
- วิธีป้องกัน
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ระคายเคือง หากจำเป็นต้องใช้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก หรือปรึกษาแพทย์เมื่อต้องใช้งาน
- ใช้ถุงอนามัยทุกครั้ง และปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีหนองบริเวณอวัยวะเพศ
- สำหรับผู้ป่วยเบาหวานต้องควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
เป็นภาวะความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่มีลักษณะคล้ายกับเยื่อบุโพรงมดลูก แต่เจริญเติบโตอยู่ผิดที่ผิดทาง โดยมักจะพบได้ที่รังไข่ ท่อนำไข่ รวมไปถึงลำไส้ หรือผนังด้านนอกของมดลูก ถึงแม้ว่าบางคนจะไม่มีอาการ แต่ก็ถือว่าเป็นสาเหตุที่ลดโอกาสในการตั้งครรภ์ ดังนั้น ถ้าเข้ารับการประเมินภาวะมีบุตรยากแล้วตรวจพบ จะต้องรีบทำการรักษาโดยทันที เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ในอนาคต
- สาเหตุ
- การไหลย้อนของประจำเดือน จนทำให้เกิดการฝังตัวในบริเวณที่ผิดปกติ
- ความผิดปกติของกลไกในการจัดการเซลล์ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดไปฝังตามจุดอื่น ๆ
- ปัจจัยด้านพันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่มีประวัติเกี่ยวกับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- อาการ
- มีอาการปวดประจำเดือนที่รุนแรงผิดปกติ
- อาการปวดท้องน้อย โดยสังเกตได้จากความเจ็บปวดแบบลึก ๆ ขณะมีเพศสัมพันธ์
- อาการปวดท้องน้อยแบบเรื้อรังนานกว่า 6 เดือน
- มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
- วิธีป้องกัน
- ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดโรคที่ได้ผลอย่างแน่นอน ดังนั้นหากมีอาการที่น่าสงสัย โดยเฉพาะอาการปวดประจำเดือน ควรรีบปรึกษาสูตินรีแพทย์ เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคต่อไป
โรคเนื้องอกในโพรงมดลูก
โรคเนื้องอกในโพรงมดลูกเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกที่ผิดปกติ โดยจะเกิดได้ทั้งด้านนอกของผนังมดลูก และภายในโพรงมดลูก ซึ่งรูปแบบของเนื้องอกจะแบ่งออกได้ทั้งหมด 2 ชนิด คือชนิดธรรมดา และชนิดที่เป็นมะเร็ง แต่ส่วนมากเนื้องอกที่พบในบริเวณมดลูกหลังจากประเมินภาวะมีบุตรยาก จะเป็นชนิดธรรมดาไม่อันตราย
- สาเหตุ
- อาจเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนเอสโตรเจน
- การโตของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกที่ผิดปกติ
- ปัจจุบันยังหาสาเหตุที่แท้จริงได้ไม่ชัดเจน
- อาการ
- มีอาการปวดท้องน้อย ปวดประจำเดือนรุนแรง
- ในช่วงที่มีประจำเดือน จะมีเลือดออกมามากผิดปกติ
- ปวดปัสสาวะบ่อย
- มีอาการท้องผูก
- มีโอกาสแท้งบุตรได้ง่าย
- อาจคลำพบก้อนที่ท้องได้ด้วยตนเอง
- วิธีป้องกัน
- ออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนัก
- หมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติอะไรบ้าง เป็นต้น
- ตรวจร่างกายประจำปี ตรวจภายใน อัลตราซาวด์
วิธีเตรียมความพร้อมให้มดลูกแข็งแรง
-
- ใส่ใจเรื่องอาหาร ต้องทานให้ตรงเวลา และครบ 5 หมู่ เน้นผักและผลไม้ โปรตีนจากสัตว์ที่ไม่ติดมัน หรือโปรตีนจากพืชจำพวกถั่ว พร้อมลดน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ลดความเครียด หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่พบได้บ่อย ๆ จากการตรวจหาสาเหตุมีลูกยาก เพราะความเครียดจะทำให้การทำงานของฮอร์โมนระบบเจริญพันธุ์ทำงานลดลง
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพราะจะส่งผลโดยตรงกับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนทำงานผิดปกติ
- ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกาย อาจใช้วิธีอัลตราซาวด์หรือส่องกล้อง เพื่อตรวจสภาพผนังมดลูก รังไข่ หรือตรวจสอบเพิ่มเติมในหลายกรณี ๆ เช่น การตรวจหาสาเหตุมีลูกยาก หรือการเตรียมตัวก่อนย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก เป็นต้น
สำหรับคุณแม่มือใหม่ท่านใดที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ และต้องการเข้ารับการประเมินภาวะมีบุตรยาก พร้อมตรวจหาอาการ และรักษาโรคในโพรงมดลูก สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร (V Fertility Center) ภายใต้การดูแลโดยสูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ในทุกขั้นตอน พร้อมช่วยดูแลให้คุณแม่มือใหม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์!
ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline : 082-903-2035
Line : @vfccenter
ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวชวิทยาและเวชศาตร์การเจริญพันธ์ุ
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.