คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังวางแผนจะมีลูก อาจจะพอได้ยินหรือรู้จักกับการตรวจคุณภาพตัวอ่อน หรือการคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน PGT-A หรือ PGS กันมาบ้าง แต่สำหรับหลายคนที่ยังไม่แน่ใจว่าการตรวจประเภทนี้คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? และเหมาะสำหรับใครบ้าง? วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากกัน
การตรวจ PGT-A หรือ PGS คืออะไร?
การตรวจคุณภาพตัวอ่อน PGT-A(Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy) หรือ PGS (preimplantation genetic screening) คือ การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนระยะฝังตัว ซึ่งจะเป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทั้งหมด23 คู่ เพื่อตรวจหาโรคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม (Genetic Disorders) จากพ่อแม่สู่ลูก เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome), กลุ่มอาการพาทู (Patau Syndrome), กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward Syndrome) ด้วยการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สมัยใหม่ เข้ามาช่วยวิเคราะห์หาความผิดปกติภายในโครโมโซมของตัวอ่อนที่ให้ผลลัพธ์รวดเร็วและแม่นยำ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้มากขึ้นด้วย
ประโยชน์ของการตรวจวินิจฉัยตัวอ่อน PGT-A หรือ PGS มีอะไรบ้าง?
- เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์มากขึ้น
- เพื่อทราบถึงความผิดปกติของตัวอ่อนในระยะก่อนการฝังตัว และเพื่อลดปัญหาทารกในครรภ์ผิดปกติ
- มีความแม่นยำสูง ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของตัวอ่อนและไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นทารก
- ลดความเสี่ยงจากการแท้งบุตร และลดอัตราการทำแท้งหรือการยุติการตั้งครรภ์จากตัวอ่อนที่มีความผิดปกติ
- เพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อน
- ลดค่าใช้จ่ายและลดจำนวนรอบในการทำเด็กหลอดแก้ว หรือการรักษาอื่น ๆ เพื่อการตั้งครรภ์
- ลดระยะเวลารอการตั้งครรภ์
- ลดโอกาสในการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น
การตรวจคุณภาพตัวอ่อน PGT-A หรือ PGS มีขั้นตอนอย่างไร?
เมื่อตัวอ่อนถูกเลี้ยงไปจนถึงระยะ Blastocyst (วันที่ 5 ของการเลี้ยงตัวอ่อน) หรือระยะที่ตัวอ่อนสามารถเจริญเติบโตเต็มที่และพร้อมที่จะฝังตัว จะมีการนำเซลล์ที่รกส่วนหนึ่งมาตรวจชิ้นเนื้อเพื่อมาใช้วิเคราะห์สารทางพันธุกรรม
เซลล์ที่ถูกเก็บตัวอย่างมา จะถูกนำไปทำการสกัดและเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม (DNA) เพื่อนำไปวิเคราะห์ Next Generation Sequencing (NGS) เพื่อหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมทั้งหมดในเซลล์ (Genome) โดยกระบวนการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้ จะสามารถใช้ตรวจโครโมโซมทั้ง 24 ชนิด ได้แก่ โครโมโซมที่ไม่ใช่ตัวกำหนดเพศ 22 ชนิด (Autosome) และโครโมโซมเพศ 2 ชนิด (X และ Y) ที่มีความแม่นยำสูงมากถึง 99.9% นอกจากนี้ การตรวจวินิจฉัยตัวอ่อน PGT-A หรือ PGS ยังสามารถตรวจสอบในกรณีที่มีจำนวนของแท่งโครโมโซมที่เกินหรือขาดหายไป (Chromosome Duplication and Deletions) ได้เช่นเดียวกัน ด้วยความละเอียดสูงและให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ
ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติจะถูกตรวจคัดเลือกก่อนการฝังตัวของตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป
ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจคุณภาพตัวอ่อน PGT-A หรือ PGS?
- คู่สมรส ที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากมักมีอัตราความเสี่ยงของการให้กำเนิดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติสูง
- คู่สมรสที่มีประวัติความผิดปกติทางโครโมโซมภายในครอบครัว
- คู่สมรสที่เคยมีประวัติคลอดบุตรที่เป็นโรคทางพันธุกรรม
- คู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากและเคยพบปัญหาตัวอ่อนไม่ฝังตัวอย่างน้อย 2 ครั้ง
- คู่สมรสที่มีประวัติการแท้งบุตรก่อนอายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์ มากกว่า 2 ครั้ง
- คู่สมรสที่เคยมีประวัติการรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้วมาก่อน แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากกว่า 2 ครั้ง
- คู่สมรสที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น มีการสลับตำแหน่งของโครโมโซม
เพิ่มความปลอดภัยและชีวิตที่มั่นคงให้กับลูกน้อย ตัวคุณ และคู่สมรสก่อนการตั้งครรภ์ ด้วยการตรวจคุณภาพตัวอ่อน PGT-A หรือ PGS เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จของการตั้งครรภ์ให้มากยิ่งขึ้น และได้ทารกที่สมบูรณ์ปกติ ที่สำคัญยังช่วยลดอัตราการแท้งบุตรลงได้อีกด้วย
ที่ VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร เรามีทีมแพทย์มืออาชีพคอยให้บริการและคำปรึกษาทุกเคส มาพร้อมกับนวัตกรรมและเครื่องมืออันทันสมัย ได้มาตรฐานและปลอดภัย ช่วยสานฝันของคุณให้กลายเป็นจริงได้
ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline : 082-903-2035
Line : @vfccenter
อ่านบทความสุขภาพ : https://www.v-ivf.com/article/
ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวชวิทยาและเวชศาตร์การเจริญพันธ์ุ
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.