Platelet Rich Plasma (PRP) คือ ส่วนพลาสมาของเลือดที่ประกอบไปด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น เกิดจากการนำเลือดเข้าสู่กระบวนการปั่นแยกส่วนประกอบอื่นที่ไม่ต้องการออกให้เหลือเกล็ดเลือดซึ่งมีความเข้มข้นกว่าเลือดปกติ 5-10 เท่า
ซึ่งใน PRP นี้ จะมีสาร Cytokines และ Growth factors หลายชนิด เช่น Vascular Endothelial Growth Factor (VEGF), Transforming Growth Factor (TGF), Platelet-derived Growth Factor (PDGF) และ Epidermal Growth Factor (EGF) ฯลฯ สารต่าง ๆ เหล่านี้จะเข้าไปกระตุ้นการเคลื่อนที่การเจริญเติบโต และการแบ่งหน้าที่ของเซลล์ รวมทั้ง เริ่มมีการนำมาใช้ตั้งแต่ 1970 โดยทำการรักษาในเรื่องเกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพของเซลล์ ซึ่งทางด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นมีแต่การศึกษาเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในการใช้เฉพาะกลุ่มดังนี้
PRP กับเยื่อบุโพรงมดลูก
ในการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อทำการย้ายกลับตัวอ่อน พบว่ามีกลุ่มคนไข้ส่วนหนึ่งมีปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกบางโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้ว่าจะได้รับยาฮอร์โมน Progynova ในระดับสูงแล้วก็ตาม ทำให้คนไข้ต้องถูกยกเลิกการย้ายกลับตัวอ่อน เกิดผลกระทบต่อคนไข้ทั้งทางด้านจิตใจและค่าใช้จ่าย ในปัจจุบันมีการศึกษาต่าง ๆ รายงานถึงความสำเร็จในการใช้ PRP ฉีดเข้าโพรงมดลูก โดยกลุ่มคนไข้ที่มีเยื่อบุบางโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังได้รับการฉีด PRP เข้าในโพรงมดลูกก่่อนการสอดยาโปรเจสเตอโรน พบว่าเยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น และมีปริมาณเลือดมาเลี้ยงเยื่อบุโพรงมดลูกเพิ่มขึ้น จากการศึกษาต่าง ๆ ยังพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของอัตราการตตั้้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มคนไข้ที่ได้รับการย้้ายตัวอ่อนกลับหลายครั้งแล้วไม่เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น
PRP กับรังไข่
อายุที่มากขึ้นทำให้รังไข่นั้นมีปริมาณของฟองไข่และคุณภาพไข่ที่ลดลงการกระตุ้นไข่ในกลุ่มคนที่มีฟองไข่ปริมาณที่น้อยมีโอกาสที่ไม่ได้ไข่หรือไข่ที่ปริมาณน้อยทำให้ต้องทำการรักษาหลายรอบ การทำ PRP ที่รังไข่ จะทำเหมือนกับการเก็บไข่ คือ ใช้เข็มเก็บไข่ฉีด PRPประมาณ 6-8 มิลลิลิตรที่บริเวณเนื้อรังไข่ มีการศึกษาพบว่าสามารถทำให้ค่า FSH ลดลง AMH เพิ่มขึ้นเล็กน้อย และเพิ่มปริมาณฟองไข่ได้ 0.5-1 ใบ และลดการยกเลิกการเก็บไข่เนื่องจากการกระตุ้นไข่ไม่ได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดปรึกษาและวางแผนกับแพทย์ได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
โทร. 082-903-2035
Line : @vfccenter
อ่านบทความสุขภาพ : https://www.v-ivf.com/article/
ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวชวิทยาและเวชศาตร์การเจริญพันธ์ุ
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.