เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

มีบุตรยากต้องรู้! ความสำคัญของระยะที่ใช้ในตู้เลี้ยงตัวอ่อน

การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในตู้เลี้ยงตัวอ่อน

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ประสบปัญหาการมีบุญยาก ‘การทำเด็กหลอดแก้ว’ คงเป็นวิธีการที่เคยได้ยินหรือรู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นหนึ่งในวิธียอดนิยมที่สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ตั้งแต่ภาวะไม่ตกไข่หรือไข่ตกช้าจากความผิดปกติของฮอร์โมนเพศหญิง ไปจนถึงปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของอสุจิ ทั้งในเรื่องของจำนวนและความผิดปกติด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของฝ่ายชาย

ซึ่งการทำเด็กหลอดแก้วนั้นเกิดจากกระบวนการปฏิสนธิภายนอกครรภ์มารดา โดยมีขั้นตอนตั้งแต่การเจาะเก็บไข่ที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนจนได้ขนาดตามที่ต้องการ ร่วมกับการเก็บอสุจิของฝ่ายชายที่ผ่านการคัดแยกจนได้อสุจิที่สมบูรณ์เพื่อนำมาผสมกับไข่ในห้องทดลอง ซึ่งกระบวนการหลังจากนั้นจะเป็น ‘การเพาะเลี้ยงตัวอ่อน’ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ส่งผลต่ออัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก

การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนคืออะไร?

การเพาะเลี้ยงตัวอ่อน เป็นกระบวนการที่จะเกิดขึ้นหลังจากการเก็บเซลล์ไข่และคัดเชื้ออสุจิ โดยจะมีการนำเซลล์ไข่กับอสุจิมาปฏิสนธิกันด้วยการนำตัวอสุจิ 1 ตัวที่แข็งแรง เจาะเข้าไปที่เซลล์ไข่ 1 ใบ จนได้เป็นตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ จากนั้นจะใช้ระยะในการเลี้ยงเป็นตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นขั้นตอนที่มีความละเอียดอ่อนที่ต้องทำด้วยความถูกต้องเพื่อควบคุมดูแลระยะตัวอ่อนในตู้เลี้ยงตัวอ่อนให้เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์

ตู้เลี้ยงตัวอ่อนมีความสำคัญอย่างไร?

หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์และทำให้ทารกมีสุขภาพสมบูรณ์ตั้งแต่ในครรภ์ คือการคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีและแข็งแรง รวมถึงการเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้ตัวอ่อนสามารถเติบโตและมีกระบวนการเกิดที่มีประสิทธิภาพ ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ตัวอ่อนมีความสมบูรณ์และแข็งแรงที่สุด

ในอดีต ตัวอ่อนจะถูกนำออกมาจากตู้เลี้ยงตัวอ่อนเพื่อทำการตรวจดูพัฒนาการด้วยการถ่ายภาพหรือวิดีโอในช่วงที่ทำการเพาะเลี้ยง ซึ่งการนำตัวอ่อนออกมาจากตู้จะทำให้ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอก ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโต แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนในชื่อ EmbryoScope Plus ที่ภายในมีกล้องจุลทรรศน์ และระบบถ่ายทอดสัญญาณภาพของตัวอ่อนติดตั้งเอาไว้ จึงไม่ต้องนำตัวอ่อนออกมาด้านนอก ทำให้ตอบโจทย์ต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนมากยิ่งขึ้น

ระยะในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน

 • ระยะที่ 1 ระยะไซโกต (Zygote)

เป็นระยะที่ไข่และสเปิร์มผสมกันแล้ว 0-24 ชั่วโมง โดยจะเกิด Pronuclei เป็นวงกลมสองวงมาจากพ่อและแม่อย่างละ 1 เซลล์ ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่สเปิร์มผสมกับไข่ไปแล้วประมาณ 16-18 ชั่วโมง

 • ระยะที่ 2 ระยะคลีเวจ (Cleavage)

หลังจากที่ไข่กับสเปิร์มผสมกันแล้ว 24-72 ชั่วโมง ตัวอ่อนจะเกิดการแบ่งตัว และเมื่อแบ่งตัวเต็มที่จะเกิดการรวมตัวและยึดเกาะกันอีกครั้ง หรือที่เรียกว่า Compacted Morula ซึ่งโดยปกติแล้ว Morula ควรจะมีตั้งแต่ 8 เซลล์ขึ้นไป แต่ที่ดีที่สุดควรประกอบด้วย 16-32 เซลล์ และหากพบว่าตัวอ่อนไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควรในระยะนี้ ก็จะมีการเจาะเปลือกเพื่อให้ตัวอ่อนสามารถรับสารอาหารจากน้ำยาที่เลี้ยงได้เต็มที่มากขึ้น สำหรับระยะนี้ การที่เปลือกบางลงยังจะทำให้ตัวอ่อนฟักตัวออกมาได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังจะช่วยให้การดึงเซลล์ของตัวอ่อนเพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ยังสามารถทำได้อย่างสะดวกอีกด้วย

 • ระยะที่ 3 ระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst)

อยู่ในช่วงประมาณ 120 ชั่วโมงหลังจากการผสม ซึ่งตัวอ่อนจะเจริญเติบโต และมีการแบ่งตัวเซลล์อยู่ที่ประมาณ 80-120 เซลล์ โดยตัวอ่อนที่สามารถพัฒนามาถึงระยะนี้ได้จะเป็นตัวอ่อนที่แข็งแรงและเหมาะสมสำหรับการย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก

ระยะเวลาการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ระยะเวลาในการรย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของผู้มีบุตรยาก จะมีอยู่ 2 ช่วงระยะ คือระยะที่ 2 (คลีเวจ) และระยะที่ 3 (บลาสโตซิสท์) แต่ในระยะบลาสโตซิสท์จะเป็นระยะที่ตัวอ่อนมีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมในการฝังตัวมากกว่า อีกทั้งระยะคลีเวจยังเป็นช่วงที่ตัวอ่อนอยู่ในท่อนำไข่ จึงอาจจะยังไม่พร้อมในการฝังตัว รวมถึงระยะคลีเวจยังมีโอกาสที่ตัวอ่อนจะหยุดการเจริญเติบโตก่อนการฝังตัวได้อีกด้วย การรอให้ตัวอ่อนเติบโตไปจนถึงระยะบลาสโตซิสท์จึงมีความเหมาะสมมากกว่า เพราะจะช่วยให้มั่นใจว่าจะได้ตัวอ่อนที่แข็งแรงสมบูรณ์ และพร้อมสำหรับการกลับเข้าสู่โพรงมดลูกมากที่สุด

สำหรับการย้ายตัวอ่อนในระยะคลีเวจซึ่งเป็นระยะที่ 2 เข้าสู่มดลูกนั้น อาจเกิดขึ้นได้หากพบว่า ตัวอ่อนในตู้เพาะเลี้ยงมีโอกาสน้อยที่จะพัฒนาไปจนถึงระยะบลาสโตซิสท์ ทำให้บางครั้งการฝังตัวอ่อนในระยะที่ 2 อาจเป็นผลดีกว่าการรอให้ตัวอ่อนหยุดเจริญเติบโตอยู่ในตู้เพาะเลี้ยง ซึ่งการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ว่าตัวอ่อนจะสามารถเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมแบบไหนมากกว่ากัน

หากผู้ที่กำลังเตรียมตัวเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ต้องการความแม่นยำในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่เหมาะสม ด้วยตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่มาตรฐานเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการฝังตัวอ่อนสู่การตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์แบบ ที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรยาก พร้อมให้คำปรึกษาโดยทีมสูตินรีแพทย์มากประสบการณ์ ที่จะช่วยวางแผนได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ VFC

ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline : 082-903-2035
LINE Official : @vfccenter

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.