ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนย่อมหวังให้ลูกน้อยเกิดมามีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์กันทั้งนั้น แต่หนึ่งในความเสี่ยงที่พ่อแม่หลาย ๆ คนกังวลใจคงจะหนีไม่พ้นโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในโครโมโซม แต่ปัญหานี้ใช่ว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ เพราะเราสามารถใช้วิธีการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนควบคู่ไปกับวิธีการผสมเทียมนอกครรภ์มารดา เพื่อสร้างผลลัพธ์การตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับการตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนให้ดียิ่งขึ้น ว่าเป็นบริการที่เหมาะสำหรับใคร มีขั้นตอนอย่างไร และสามารถตรวจหาเพื่อป้องกันโรคใดได้บ้าง
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนคืออะไร?
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน (Preimplantation Genetic Testing : PGT) เป็นการนำเซลล์ของตัวอ่อนที่เพาะเลี้ยงไว้มาตรวจหาความผิดปกติของลักษณะและจำนวนของโครโมโซม ซึ่งจะทำการตรวจก่อนย้ายตัวอ่อนเข้าไปยังครรภ์ของมารดา ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะช่วยลดความเสี่ยงในการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้ ทำให้มั่นใจได้ว่าลูกน้อยของคุณจะมีสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรค และภาวะต่าง ๆ ที่มีผลมาจากความผิดปกติในระดับโครโมโซม อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการยุติการตั้งครรภ์กลางคันได้อีกด้วย
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนป้องกันโรคใดได้บ้าง?
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน สามารถป้องกันโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่อาจส่งต่อกันทางพันธุกรรมได้ โดยมีอยู่ 5 โรคที่พบได้บ่อยดังนี้
- กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down’s Syndrome) ที่มีพัฒนาการล่าช้า เด็กที่เกิดมาจะมีใบหน้าที่เป็นลักษณะเฉพาะ และอาจมีโรคประจำตัวตั้งแต่กำเนิด เช่น โรคหัวใจพิการ
- กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edwards Syndrome) ปากแหว่งเพดานโหว่ และมีความผิดปกติทางสติปัญญา
- โรคตาบอดสี (Color Blindness) โรคที่ทำให้ไม่สามารถแยกความต่างระหว่างสีบางสีได้ และไม่สามารถรักษาได้
- โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือโรคเลือดไหลไม่หยุดเพราะเลือดไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวช้า
- โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ซึ่งมีความผิดปกติในการผลิตฮีโมโกลบินทำให้มีภาวะโลหิตจาง เหนื่อยง่าย และเจริญเติบโตช้า
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนมีขั้นตอนอย่างไร?
หลังจากทำการปฏิสนธิไข่กับเชื้ออสุจิจนเกิดเป็นตัวอ่อนแล้ว ทีมแพทย์จะเพาะเลี้ยงตัวอ่อนโดยใช้เวลาประมาณ 5-6 วัน จากนั้นจะนำเซลล์ของตัวอ่อนจำนวนหนึ่งไปตรวจดูความผิดปกติของโครโมโซม หากพบว่าโครโมโซมทั้ง 23 คู่ปกติดีก็จะย้ายตัวอ่อนนั้นเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนที่แข็งแรงดีนั้นเติบโตเป็นทารกในครรภ์มารดาต่อไป
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนมีไว้สำหรับใครบ้าง?
1. ผู้หญิงที่อายุ 35 ปีขึ้นไปและกำลังเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว
ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่กำลังเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ควรทำการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนที่จะนำตัวอ่อนมาฝังในครรภ์เพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะมีความผิดปกติด้วยโรคทางพันธุกรรม เพราะเมื่อมีอายุมากขึ้นความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติกับตัวอ่อนในระดับโครโมโซมก็จะเพิ่มมากขึ้น
2. คู่ชาย-หญิงที่เคยมีประวัติแท้งบุตรมาแล้ว 2 ครั้งขึ้นไป
คู่รักที่เคยมีประวัติตั้งครรภ์และแท้งบุตรมาแล้วมากกว่า 2 ครั้ง ควรเลือกใช้บริการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนร่วมกับวิธีการผสมเทียมนอกครรภ์มารดา เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้สำเร็จ และลดความเสี่ยงที่จะแท้งบุตร หรือต้องยุติการตั้งครรภ์เพราะพบความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์หลังตั้งครรภ์สำเร็จ
3. ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวตั้งครรภ์และเด็กทารกที่เกิดมาเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม
ผู้ที่สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติตั้งครรภ์แล้วทารกมีโรค หรือกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ควรตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนเพื่อให้มั่นใจว่าตัวอ่อนของคุณไม่มีความผิดปกติทางโครโมโซม และเติบโตได้เป็นปกติ และแข็งแรง
4. ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม
คู่รักชาย-หญิงที่มีสมาชิกในครอบครัวไม่ว่าจะเป็น รุ่นปู่-ย่า พ่อ-แม่ หรือพี่-น้อง เป็นโรคหรือกลุ่มอาการทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ปากแหว่งเพดานโหว่ ฮีโมฟีเลีย โรคธาลัสซีเมีย และอื่น ๆ ควรตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกของคุณจะมีความผิดปกติเหล่านี้ที่อาจส่งต่อกันทางพันธุกรรม
5. คู่ชาย-หญิงที่เคยผ่านการทำเด็กหลอดแก้วแล้วตัวอ่อนคุณภาพดี แต่ตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ
คู่ที่เคยผ่านการทำเด็กหลอดแก้วทั้งแบบ IVF หรือ ICSI มาแล้ว พบว่าตัวอ่อนที่เพาะเลี้ยงเอาไว้มีคุณภาพดี แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เมื่อย้ายตัวอ่อนมายังครรภ์มารดา ควรตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จ
เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกของคุณตั้งแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ ด้วยบริการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการผสมเทียมกับ VFC Center เรามีเครื่องมือคุณภาพสูงครบวงจร พร้อมบริการที่เหมาะกับคู่รักที่มีปัญหามีบุตรยาก สามารถแวะมาปรึกษากับแพทย์และทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของเราได้ทุกวัน
ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline : 082-903-2035
Line : @vfccenter
บทความโดย: แพทย์ศรมน ทรงวีรธรรม
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูติ-นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.