เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

สรุปทุกประเด็น ควรรู้ก่อนปรึกษาการมีบุตรยาก

ตอบคำถามคาใจของคนอยากปรึกษาการมีบุตรยาก

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ความหวังของคู่แต่งงานที่ประสบภาวะมีบุตรยากหลายคู่ ช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์หลากหลายวิธี และสำหรับคู่แต่งงานที่กำลังวางแผนจะมาปรึกษาการมีบุตรยากกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ยังมีข้อสงสัยบางอย่างอยู่ บทความนี้ได้รวบรวม 5 คำถามยอดนิยมของคนอยากปรึกษาการมีบุตรยากมาตอบให้แบบหมดเปลือก แต่จะมีคำถามอะไรบ้าง ติดตามได้เลย

1. ภาวะมีบุตรยากเกิดจากอะไรได้บ้าง?

คำถามแรกที่ผู้ที่ต้องการปรึกษาการมีบุตรยากมักจะสงสัย ย่อมหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า “ภาวะมีบุตรยากเกิดจากอะไร?” เพราะคนส่วนใหญ่มักมองว่าตัวเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว รวมถึงหากเป็นคู่แต่งงานที่วางแผนมีลูก ก็มักหลีกเลี่ยงการคุมกำเนิดด้วยวิธีต่าง ๆ และมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว แต่ต้องบอกว่าภาวะมีบุตรยากนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ด้วยกัน และสามารถเกิดได้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยมีดังนี้

สาเหตุการมีบุตรยากในฝ่ายหญิง

  • ความผิดปกติของการตกไข่และท่อนำไข่ มีภาวะไม่ตกไข่ ท่อนำไข่อุดตัน เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฮอร์โมน, การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน และเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
  • มดลูกมีความผิดปกติ เช่น เนื้องอกในโพรงมดลูก หรือมีติ่งเนื้อหรือพังผืดในโพรงมดลูก
  • ภาวะประจำเดือนผิดปกติหรือหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร

สาเหตุการมีบุตรยากในฝ่ายชาย

  • อสุจิมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปริมาณที่น้อยผิดปกติ คุณภาพไม่ดี ความสามารถในการเคลื่อนที่ต่ำ และปัญหาอื่น ๆ ที่ตรวจพบได้ด้วยการส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์
  • อวัยวะสืบพันธุ์ติดเชื้อ เช่น โรคเริม, โรคหนองใน, โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
    อัณฑะผิดปกติจากภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ
  • การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การหลั่งเร็ว และปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องทางเพศ

โดยภาวะเหล่านี้เป็นเพียงสาเหตุส่วนหนึ่งที่พบได้บ่อยเท่านั้น หากคุณยังอายุไม่เกิน 35 ปีและมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่คุมกำเนิดมาเป็นเวลา 1 ปี แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรึกษาการมีบุตรยากและตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียดจะดีที่สุด

2. เป็นหมันจะสามารถมีลูกได้ไหม?

คำถามนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งคำถามฮิตที่มักได้ยินในการปรึกษาการมีบุตรยาก เนื่องจากเมื่อพูดถึงคำว่า ‘เป็นหมัน’ ไม่ว่าจะเป็นหมันแต่กำเนิด เกิดจากปัญหาสุขภาพ หรือเกิดจากการทำหมันก็ตาม คนส่วนใหญ่มักคิดว่าน่าจะหมดโอกาสที่จะมีลูกไปแล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่เป็นหมันหรือทำหมันไปแล้วยังมีโอกาสมีลูกได้ แต่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน ว่าอาการเป็นหมันที่เป็น อยู่ในขั้นไหน เพื่อนำมาวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์

3. มีบุตรยาก รักษาได้อย่างไรบ้าง?

สำหรับคู่สมรสที่เผชิญกับภาวะมีบุตรยาก และกำลังวางแผนปรึกษาการมีบุตรยากกับแพทย์เฉพาะทาง และอยากรู้ว่าจะมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง เรามีวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมาแนะนำทั้งหมด 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่

การทำ IUI

การทำ IUI หรือ Intrauterine Insemination เป็นการฉีดเชื้ออสุจิที่คัดแล้วว่าเป็นตัวที่แข็งแรงที่สุดเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิงโดยตรงในวันที่ตกไข่ ซึ่งถือเป็นวิธีการผสมเทียมที่ใกล้เคียงกับวิธีธรรมชาติที่สุด เพิ่มอัตราที่อสุจิกับไข่จะผสมกันสำเร็จได้สูงกว่าการมีเพศสัมพันธ์ถึง 5-6 เท่า

การทำ IVF

การทำ IVF (In-Vitro Fertilization) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการทำเด็กหลอดแก้ว คือการนำไข่ที่สมบูรณ์ของฝ่ายหญิง และอสุจิที่แข็งแรงของฝ่ายชายมาผสมกัน ทำให้เกิดการปฏิสนธิภายนอก เมื่อกระบวนการปฏิสนธิสำเร็จ แพทย์จึงจะนำตัวอ่อนกลับมาฝังที่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

การทำ ICSI

การทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) เป็นการคัดไข่ 1 ใบและอสุจิ 1 ตัวที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงที่สุดมาผสมกันอย่างเฉพาะเจาะจง โดยแพทย์จะใช้เข็มเจาะแล้วฉีดอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรง จากนั้นจะทำการฝังตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูกอีกครั้งเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ตามปกติ เช่นเดียวกับการทำ IVF

VFC รับปรึกษาการมีบุตรยากโดยแพทย์เฉพาะทาง

4. การทำ ICSI ดีกว่าวิธีอื่นอย่างไร?

สืบเนื่องจากคำถามข้อที่แล้ว ในเรื่องของวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก หลายคนอาจยังสงสัยว่าในเมื่อกระบวนการทำ IVF และ ICSI ดูมีความใกล้เคียงกัน แล้วทำไมการทำ ICSI จึงได้รับความนิยมมากกว่าในยุคนี้ นี่คือข้อดีของการทำ ICSI ที่ควรรู้

  • เป็นการปฏิสนธิแบบเฉพาะเจาะจง จึงช่วยให้คู่สมรสที่มีบุตรยาก รวมทั้งคู่ที่ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปี มีแนวโน้มประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้
  • สามารถประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้ แม้ว่าฝ่ายชายจะมีปัญหาอสุจิน้อยหรืออสุจิพิการ
  • สามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อนได้ ทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์มากขึ้น

5. พบแพทย์เพื่อปรึกษาการมีบุตรยากครั้งแรก ควรเตรียมตัวอย่างไร?

ในการเตรียมตัวไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาการมีบุตรยากครั้งแรกนั้น แนะนำให้คุณอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นให้แพทย์ฟังอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นอายุ โรคประจำตัว ความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ เพราะปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการวินิจฉัยของแพทย์ทั้งสิ้น และควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ปรึกษาการมีบุตรยากกับแพทย์เฉพาะทาง เลือก VFC

สนใจปรึกษาการมีบุตรยากกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เลือก VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร ที่จะดูแลคุณอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอนการรักษา โดยสูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยและห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ด้วยแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เรายังมีประสบการณ์ด้านการรักษาด้วยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์มากกว่า 15 ปี ให้บริการครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่การแช่แข็งไข่, การทำ IUI, การทำ ICSI, การทำ IVF, การแช่แข็งตัวอ่อน และการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ยินดีให้คำปรึกษาการมีบุตรยากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

ติดต่อปรึกษาการมีบุตรยากหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่

VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร

Hotline: 082-903-2035
LINE Official: @vfccenter

บทความโดย: แพทย์วรวัฒน์ ศิริปุณย์

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.