หากคู่รักพยายามที่จะตั้งครรภ์มาได้สักพักแต่ยังคงล้มเหลว อาจมีสาเหตุมาจาก “ช่วงเวลาความพร้อมของมดลูก” ที่ไม่ตอบสนองต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งวิทยาการทางการแพทย์ในปัจจุบัน มีการนำเทคนิคใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการรักษาในหลากหลายวิธี เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับการตั้งครรภ์ให้เกิดผลสำเร็จ ซึ่งกระบวนการ ERA Test ก็คือหนึ่งในวิธียอดนิยมที่หลาย ๆ คู่รักเลือกใช้ มาทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันว่า ERA Test คืออะไรให้มากขึ้นในบทความนี้
ERA Test คือกระบวนการตรวจความพร้อมการตั้งครรภ์
ERA Test (Endometrial Receptivity Analysis) คือกระบวนการตรวจวัดความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกในการฝังตัวของตัวอ่อน โดยจะเริ่มจากการกระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) โดยให้ฮอร์โมนเพศหญิงหรือโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะใช้เวลา 5 วันโดยประมาณ หลังจากนั้นจะทำการตัด (Biopsy) เนื้อเยื่อของโพรงมดลูก มาวิเคราะห์การแสดงออกของยีน (Gene Expression) ที่มีกว่า 248 ยีน เพื่อหาช่วงเวลาที่แม่นยำในการเคลื่อนย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อน และนำไปสู่การตั้งครรภ์ในที่สุด
ทำไมต้องตรวจ ERA Test?
เหตุผลที่ควรทำการตรวจ ERA Test ในผู้หญิง เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ลองวิธีทางธรรมชาติมานานแต่ยังไม่มีบุตร รวมถึงผู้ที่เคยย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูกมาก่อนแต่ไม่สำเร็จ ซึ่งอาจประเมินได้ว่า เยื่อบุโพรงมดลูกอาจมีปัญหาและไม่พร้อมในการฝังตัวของตัวอ่อนในขณะนั้น
ประโยชน์ของการตรวจ ERA Test คืออะไร?
- เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่มีปัญหามีบุตรยาก เนื่องจากสามารถระบุช่วงเวลาที่ผนังมดลูกพร้อมในการฝังตัวอ่อนได้
- ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา เนื่องจากสามารถหลีกเลี่ยงการฝังตัวอ่อนในช่วงที่ผนังมดลูกไม่พร้อม
ขั้นตอนการทำ ERA Test
- เตรียมผนังมดลูกให้พร้อมสำหรับการฝังตัวอ่อน โดยให้ผู้เข้ารับการรักษารับประทานยากระตุ้นการตกไข่
- รอจนกว่าผนังมดลูกจะหนาขึ้นถึง 8-10 มิลลิเมตร
- เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นแล้ว จะทำการเริ่มให้ยาโปรเจสเตอโรนเป็นเวลา 5 วัน
- ทำการตัดหรือดูดเก็บเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อส่งตรวจหาการแสดงออกของยีน (gene expression)ในวันที่เราวางแผนจะใส่ตัวอ่อน เพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายตัวอ่อน แล้วยกเลิกการใส่ตัวอ่อนในรอบนั้น พร้อมรอผลการตรวจ
เงื่อนไขของตัวอ่อนที่เหมาะกับกระบวนการทำ ERA Test
เพราะกระบวนการ ERA Test คือการตรวจวัดความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกต่อการฝังตัวของตัวอ่อน จึงจำเป็นจะต้องมีเงื่อนไขบางประการที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกตัวอ่อนที่เหมาะสม โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 เงื่อนไขสำคัญ ดังนี้
- ระยะการเติบโตของตัวอ่อนที่เหมาะสม สำหรับตัวอ่อนที่จะใช้ย้ายไปสู่โพรงมดลูก จะต้องเป็นตัวอ่อนในระยะวันที่ 5-6 หรืออยู่ในระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst Stage) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการพัฒนา และมีความพร้อมในการฝังตัวไปกับโพรงมดลูกได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
- ความปกติของโครโมโซม ตัวอ่อนที่เหมาะสมมากที่สุดต่อการตั้งครรภ์ จะต้องมีผลตรวจโครโมโซมที่ปกติ เพื่อให้มีโอกาสในการฝังตัว และลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแท้งในอนาค
จึงหมายความว่า การทำ ERA Test ที่มีประสิทธิภาพ จะต้องไม่พึ่งพาแค่ความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีตัวอ่อนที่อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งระยะการเติบโต ตลอดจนความปกติของโครโมโซม เพื่อให้สามารถเกิดการตั้งครรภ์ได้อย่างสมบูรณ์
ผลการตรวจ ERA Test
- ระยะที่เหมาะสม (Receptive) เยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมในการฝังตัวอ่อน
- ระยะไม่พร้อม (Non-receptive) เยื่อบุโพรงมดลูกไม่พร้อมในการฝังตัวอ่อน
- ระยะไม่ชัดเจน (Inconclusive) ผลการตรวจไม่ชัดเจน อาจต้องตรวจซ้ำอีกครั้ง
ใครบ้างที่เหมาะสมในการตรวจ ERA TEST
- คนที่เคยย้ายตัวอ่อนที่มีคุณภาพดี มีผนังมดลูกปกติแต่ก็ยังไม่ตั้งครรภ์
- คนที่มีตัวอ่อนน้อย ทำให้ต้องมีการวางแผนอย่างดีที่สุด เพื่อใช้ตัวอ่อนอย่างคุ้มค่า
ERA Test คือหนทางเพิ่มโอกาสการมีบุตร เข้ารับบริการได้ที่ VFC Center
สำหรับคู่รักที่กำลังเผชิญกับภาวะมีบุตรยาก สามารถเข้ามาปรึกษากับศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร VFC Center ที่ให้บริการโดยสูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ครอบคลุมตั้งแต่การให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาด้วยกระบวนการ ERA Test พร้อมตรวจวัดความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อเตรียมความพร้อมสู่แผนการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์แบบ
ทั้งนี้ การใส่ตัวอ่อนตามคำแนะนำหลังจากการทำ ERA test ว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่ได้เป็นแนวทางที่ช่วยการันตีว่า จะสามารถตั้งครรภ์ได้ 100% แต่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ตั้งครรภ์ได้สำเร็จมากขึ้นอย่างแน่นอน
ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline : 082-903-2035
Line : @vfccenter
บทความโดย แพทย์วนากานต์ สิงหเสนา
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูติ-นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.