ฮอร์โมนเพศหลายชนิดมีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์ และสามารถช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากได้ ยิ่งถ้าขาดฮอร์โมนเพศบางอย่างไป ก็อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของไข่ อสุจิ รวมถึงการตกไข่ จนเกิดเป็นภาวะมีบุตรยากในที่สุด
ในบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับฮอร์โมนที่มีความสำคัญกับการตั้งครรภ์ ซึ่งครอบคลุมถึงฮอร์โมน FSH, LH, และ E2 แต่ฮอร์โมนเหล่านี้คืออะไร มีความสัมพันธ์ต่อการตั้งครรภ์อย่างไร ไปหาคำตอบพร้อมกันได้เลย
มีฮอร์โมนใดบ้างที่มีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์?
ฮอร์โมน FSH คืออะไร?
ฮอร์โมน FSH เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญกับทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ โดยฮอร์โมน FSH จะมีหน้าที่กระตุ้นการเจริญของไข่ในผู้หญิง ส่วนในเพศชายจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและการพัฒนาของอัณฑะในการสร้างอสุจิ
ความสัมพันธ์ของฮอร์โมน FSH กับการตั้งครรภ์
ฮอร์โมน FSH เป็นฮอร์โมนที่สามารถใช้คาดการณ์ว่า ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมีภาวะเจริญพันธุ์หรือมีความสามารถในการตั้งครรภ์อยู่ที่ระดับใด ซึ่งโดยปกติแล้วผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์จะมีฮอร์โมน FSH ไม่เกิน 10 mIU/ml แต่หากพบว่าค่า FSH สูงกว่า 10 mIU/ml ขึ้นไป นั่นอาจหมายความว่า ร่างกายหลั่งฮอร์โมนนี้มากกว่าปกติ เพื่อพยายามให้ฮอร์โมนเพศหญิงเกิดความสมดุล ซึ่งในทางเดียวกัน ยังอาจบ่งบอกได้ว่า รังไข่ของเพศหญิงเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว
ฮอร์โมน Estradiol Hormone (E2) คืออะไร?
ฮอร์โมน Estradiol Hormone หรือ E2 เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ทำหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการตกไข่ รวมถึงการก่อตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกและรอบประจำเดือน
ความสัมพันธ์ของฮอร์โมน E2 กับการตั้งครรภ์
หากฮอร์โมน E2 มีความผิดปกติ หรือไม่สมดุลจะส่งผลถึงระยะรอบของประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ และทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้ถึงภาวะรังไข่ทำงานผิดปกติ รวมถึงภาวะวัยทองได้ นอกจากนี้ ยังจะทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากเนื่องจากการตกไข่ที่ผิดปกติด้วย
ฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) คืออะไร?
ฮอร์โมน Luteinizing Hormone หรือ LH เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ในเพศหญิงเพื่อให้ไข่สุก และตกไข่ รวมถึงกระตุ้นอัณฑะเพศชายให้มีการสร้างอสุจิ
ความสัมพันธ์ของฮอร์โมน LH กับการตั้งครรภ์
การตรวจระดับฮอร์โมน LH จะช่วยให้รู้ว่า ร่างกายของผู้หญิงมีความพร้อมที่จะตั้งครรภ์หรือไม่ เนื่องจาก ระดับฮอร์โมน LH จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก่อนถึงวันไข่ตก ซึ่งหากตรวจพบว่าระดับฮอร์โมน LH สูงขึ้น ก็จะหมายความว่าร่างกายพร้อมตั้งครรภ์และจะเกิดการตกไข่ภายใน 12 – 36 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าจะช่วยให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สำเร็จสูงขึ้น
ความสำคัญของการตรวจระดับฮอร์โมนเพศในการรักษาภาวะมีบุตรยาก
- ช่วยวินิจฉัยสาเหตุของภาวะมีบุตรยากได้อย่างแม่นยำ
การตรวจระดับฮอร์โมนเพศมีความสำคัญกับการตั้งครรภ์ เนื่องจากจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยสาเหตุของภาวะมีบุตรยากได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เช่น- ระดับฮอร์โมน FSH ที่ผิดปกติ อาจบ่งบอกถึงภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควรในผู้หญิง หรือภาวะไม่มีอสุจิในน้ำเชื้อสำหรับผู้ชาย
- ระดับฮอร์โมน E2 ต่ำ อาจทำให้ไม่เกิดการตกไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หนาตัวเพียงพอ และส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน
- ระดับฮอร์โมน LH ต่ำ อาจทำให้ไม่มีการตกไข่
- ช่วยวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
การตรวจระดับฮอร์โมนเพศที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ จะช่วยให้แพทย์สามารถหาทางรักษาภาวะมีบุตรยากได้อย่างตรงจุดที่สุด อีกทั้งยังจะช่วยให้สามารถปรับปริมาณของยาต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล - ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จจากการทำ IVF และ ICSI
การตรวจระดับฮอร์โมนเพศที่เกี่ยวข้อง จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับการตั้งครรภ์ ทั้งวิธีการทำ IVF และ ICSI เนื่องจากแพทย์จะสามารถตรวจสอบระดับฮอร์โมนเพศเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายของเพศหญิงพร้อมสำหรับการผสมเทียมหรือไม่ และเลือกเวลาที่เหมาะสมสำหรับการย้ายตัวอ่อนที่สุดได้ - ช่วยติดตามผลการรักษาภาวะมีบุตรยาก
การตรวจระดับฮอร์โมนเพศ จะช่วยให้แพทย์สามารถติดตามผลการรักษาของภาวะมีบุตรยากได้ โดยระดับฮอร์โมนบางอย่างที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้ประเมินได้ว่า การรักษามีประสิทธิภาพหรือไม่ สร้างผลลัพธ์ที่ดี หรือสร้างผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ปรับเปลี่ยนแผนการรักษาให้เหมาะสมได้
คงพอจะเห็นภาพกันบ้างแล้วว่า ฮอร์โมนเพศ FSH, LH และ E2 คืออะไร มีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์ และรักษาภาวะมีบุตรยากให้สำเร็จได้อย่างไร สำหรับคู่รักที่ต้องการเพิ่มความมั่นใจให้กับการตั้งครรภ์ และกำลังมองหาคลินิกปรึกษามีบุตรยากที่ไหนดี สามารถเข้ามารับคำแนะนำกับผู้เชี่ยวชาญจาก VFC Center ได้เลย เพราะเราเป็นศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร ที่ให้บริการครอบคลุม ทั้งให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ห้องปฏิบัติการได้มาตรฐานระดับสากล
ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline : 082-903-2035
Line : @vfccenter
บทความโดย แพทย์หญิงศรมน ทรงวีรธรรม
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูติ-นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.