สำหรับคู่แต่งงานที่วางแผนจะมีลูก และมีความสงสัยถึงเรื่องการคำนวณวันตกไข่ เพื่อการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าว ว่าจะสามารถช่วยเพิ่มโอกาสให้กับการตั้งครรภ์ได้จริงหรือไม่ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า หลังประจำเดือนหมดกี่วันไข่ตกอีกครั้ง เพื่อให้สามารถนับวันได้อย่างความถูกต้องแม่นยำ บทความนี้จะมาช่วยไขข้อสงสัย พร้อมบอกวิธีคำนวณวันไข่ตกให้ได้รู้กัน
ไข่ตกคืออะไร มีวงจรการตกไข่อย่างไร ?
ไข่ตก เป็นภาวะที่ร่างกายปล่อยไข่ออกจากรังไข่ เพื่อให้ไข่ได้เคลื่อนที่ไปตามท่อนำไข่ และรอให้อสุจิมาปฏิสนธิ ก่อนที่จะเคลื่อนที่กลับไปฝังยังผนังมดลูกต่อไป
ภาวะตกไข่ เกิดได้กับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคน โดยจะมีระยะตกไข่รอบละประมาณ 28 วัน ซึ่งวันที่ประจำเดือนมาวันแรก จะเริ่มนับเป็นวันที่ 1 และถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของรอบเดือน สามารถแบ่งวงจรการตกไข่ที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบเดือนได้ดังนี้
- ในช่วงวันที่ 2-14 ของรอบเดือน ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนฟอลลิเคิล สติมูเลติง (Follicle-Stimulating Hormone: FSH) เพื่อไปกระตุ้นให้ไข่สุก และยังเป็นการช่วยสร้างเยื่อบุมดลูกให้หนาขึ้น สำหรับเตรียมให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วมาฝังตัว
- ในช่วงวันที่ 11-21 ของรอบเดือน จะเป็นระยะตกไข่ ซึ่งส่วนมากไข่จะสุกเต็มที่ในช่วงวันที่ 14 และเคลื่อนที่ไปตามท่อนำไข่ เพื่อเตรียมรับการปฏิสนธิจากอสุจิ
- หลังจากที่ไข่สุกและตกมาแล้ว จะมีชีวิตอยู่ในท่อนำไข่ได้เพียง 12-24 ชั่วโมงเท่านั้น หากไม่มีการปฏิสนธิ เยื่อบุมดลูกที่หนาตัวขึ้น ก็จะสลายกลายเป็นประจำเดือนในที่สุด
การนับวันไข่ตก จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คู่แต่งงานสามารถหาช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ และเพิ่มโอกาสให้ตั้งครรภ์ได้สำเร็จ
สังเกตอาการตกไข่
- มูกช่องคลอดลื่น
ในช่วงระยะตกไข่ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้น ส่งผลให้มูกช่องคลอดลื่นและใส เพื่อให้อสุจิสามารถผ่านเข้าไปปฏิสนธิได้ง่ายขึ้น - มีแรงขับทางเพศ
หากสงสัยว่าเข้าสู่ช่วงระยะตกไข่แล้วหรือยัง สิ่งหนึ่งที่สามารถสังเกตได้ คือช่วงที่ผู้หญิงมีแรงขับทางเพศค่อนข้างสูง เนื่องจากปฏิกิริยาของฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงการสูบฉีดของเลือด อีกทั้งในช่วงนี้ผู้หญิงยังจะดูมีน้ำมีนวลมากกว่าปกติอีกด้วย - อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น
เนื่องจากในช่วงเวลาที่ไข่ตก ร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมน รวมถึงมีเลือดที่สูบฉีดเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น - เจ็บคัดเต้านม
ด้วยปริมาณของฮอร์โมนในร่างกายที่เพิ่มสูงขึ้น ในช่วงเวลาที่ไข่ตก จึงทำให้มีอาการเจ็บตึง คัดที่หน้าอกได้ - ปวดท้องน้อย
อาการปวดท้องน้อย เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของภาวะไข่ตก มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ภายใน ให้พร้อมกับการฝังตัวของไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้ว - มีตกขาว
สิ่งหนึ่งที่สามารถสังเกตได้ในช่วงเวลาไข่ตก คือจะมีตกขาวมากกว่าปกติ โดยตกขาวที่เห็นนั้น คือมูกที่ปากมดลูก ที่ร่างกายผลิตออกมา เพื่อช่วยให้อสุจิสามารถเคลื่อนที่ไปปฏิสนธิกับไข่ได้ง่ายขึ้น - ปากมดลูกเปลี่ยนแปลง
เมื่อร่างกายอยู่ในระยะตกไข่ ปากมดลูกจะนุ่มขึ้น ยกตัวสูงขึ้น และเปิดออกมากกว่าเดิม ซึ่งอาจสังเกตด้วยตนเองได้ยาก แต่สามารถเข้ารับการตรวจปากมดลูกจากสูตินรีแพทย์โดยตรงได้
วิธีการคำนวณวันไข่ตก
นับวันไข่ตกด้วยตนเอง
วิธีการคำนวณวันไข่ตกง่าย ๆ สามารถทำได้ด้วยการนับวันไข่ตกด้วยตนเอง ด้วยการจดบันทึกวันที่ประจำเดือนเริ่มมา และวันที่ประจำเดือนหมด ซึ่งปกติไข่จะตกในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน หรือในช่วงประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะมีประจำเดือนรอบใหม่ โดยให้มีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันที่ 12 ของรอบเดือน เพราะอสุจิจะมีชีวิตรอผสมไข่อยู่ได้ประมาณ 2 วันก่อนการตกไข่ เมื่อถึงวันที่ 14 ที่ไข่ตก อสุจิก็จะสามารถเข้าไปปฏิสนธิได้ทันที แต่วิธีนี้ สามารถใช้ได้กับคนที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอเท่านั้น สำหรับคนที่รอบเดือนมาไม่ปกติ มีโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จได้น้อย
ใช้ชุดตรวจสอบการตกไข่
ในปัจจุบันมีชุดตรวจสอบการตกไข่ ที่ใช้วัดระดับฮอร์โมนลูทิไนซิง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตออกมาในช่วงที่มีการกระตุ้นให้ไข่สุก จึงมีความแม่นยำที่ค่อนข้างสูง
นี่คือวิธีการคำนวณวันไข่ตกที่เราได้นำมาบอกกัน หากคู่แต่งงานได้ลองใช้วิธีนับวันไข่ตกแล้วไม่สำเร็จ ลองมาวางแผนการมีบุตร รักษาภาวะมีบุตรยากกับสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่คลินิกมีบุตรยาก ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร VFC Center เราพร้อมให้บริการครอบคลุมทั้งให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ห้องปฏิบัติการได้มาตรฐานระดับสากล
บทความโดย นายแพทย์วรวัฒน์ ศิริปุณย์
ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline: 082-903-2035
LINE Official: @vfccenter
ข้อมูลอ้างอิง:
- ไข่ตก สาระสุขภาพที่ผู้หญิงควรรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 จาก https://www.pobpad.com/ไข่ตก-สาระสุขภาพที่ผู้ห
- นับวันไข่ตกอย่างไรไม่ให้พลาด. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/calendar-method/
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูติ-นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.