การมีบุตรถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของชีวิตคู่ หลายคู่รักต่างปรารถนาที่จะสร้างครอบครัวที่อบอุ่น แต่กลับต้องเจออุปสรรคที่ทำให้ภาพฝันสะดุด นั่นคือการเกิดภาวะไข่ไม่ตกแบบเรื้อรังจนส่งผลต่อการตั้งครรภ์ แต่สาเหตุของการเกิดภาวะนี้เกิดจากอะไรบ้าง บทความนี้จะพาไปหาคำตอบกัน
รู้จักภาวะที่ส่งผลต่อการตกไข่
การตกไข่เป็นกระบวนการทางธรรมชาติในร่างกายของผู้หญิง โดยไข่ที่สมบูรณ์จะถูกปล่อยออกมาเพื่อรอการปฏิสนธิกับอสุจิ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณ 14 วันก่อนที่จะมีประจำเดือน แต่อาจมีภาวะที่ส่งผลต่อร่างกายทำให้ไม่สามารถตกไข่ได้ตามปกติ ดังนี้
- ภาวะไม่ตกไข่ (Anovulation) คือภาวะที่รังไข่ไม่มีการปล่อยไข่ที่สมบูรณ์ออกมาในรอบเดือน
- ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (Polycystic ovarian disease : PCOS) เป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมักมีฟองไข่ขนาดเล็กหลายใบ ทำให้ไม่สามารถผลิตไข่ที่สมบูรณ์ได้
ไข่ไม่ตกเกิดจากอะไร ?
ความผิดปกติของฮอร์โมน
ฮอร์โมนเพศหญิงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการตกไข่ โดยมักเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนบางชนิด เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน โปรแลคติน รวมถึง FSH ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของรังไข่ จึงส่งผลต่อการตกไข่ โดยสาเหตุของความผิดปกติของฮอร์โมน ได้แก่ ภาวะไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคทางต่อมใต้สมอง และภาวะ PCOS
น้ำหนักตัว
น้ำหนักตัวที่ไม่สมดุลอาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากอาจมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวน้อยก็อาจมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ซึ่งล้วนส่งผลต่อการตกไข่ได้เช่นกัน
พฤติกรรมการใช้ชีวิต
เช่น การออกกำลังกายหนัก การอดอาหาร การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อระดับลูทิไนซิงฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการตกไข่
>> อ่านเพิ่มเติม สำรวจด่วน! พฤติกรรมที่ควรไปตรวจภาวะมีบุตรยาก
ความเครียด
การเกิดความเครียดเรื้อรังจะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งอาจเข้าไปรบกวนการผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้ยากต่อการตกไข่
ไข่ไม่ตกมีอาการอย่างไร ?
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยอาจจะมาไม่ตรงรอบ มาน้อย หรือมากผิดปกติ รวมถึงหยุดมาเป็นเวลานาน
- มีฮอร์โมนเพศชายสูง โดยสามารถสังเกตได้จาก เกิดสิวเรื้อรัง ขนดกผิดปกติในบริเวณหน้าอก หลัง หรือหน้าท้อง เสียงแหบพร่า รวมถึงเส้นผมหลุดร่วง
- เกิดภาวะอ้วน อาจทำให้มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ทำให้ส่งผลต่อการตกไข่
ภาวะไข่ไม่ตก รักษาได้อย่างไรบ้าง ?
การรักษาภาวะไข่ไม่ตก ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา โดยแพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติการรักษา ตรวจร่างกาย ตรวจฮอร์โมน รวมถึงทำการอัลตราซาวด์ เพื่อให้การรักษา ดังนี้
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก ควบคุมความเครียด ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ฮอร์โมนเพศหญิงกลับมาสมดุล กระตุ้นการตกไข่ และในกรณีที่มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อเอาพังผืดออก ช่วยให้ท่อนำไข่เปิดและทำให้ไข่สามารถเดินทางไปยังมดลูกเพื่อปฏิสนธิกับอสุจิได้สำเร็จ
การรักษาโดยใช้ยา
แพทย์จะทำการวินิจฉัยปัญหาและพิจารณาการใช้ยา เช่น ยากระตุ้นการตกไข่ที่ช่วยให้รังไข่ผลิตไข่และทำให้เกิดการตกไข่ หรือยาฮอร์โมนเพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนเพศหญิง
สำหรับคู่รักที่ต้องการมีบุตรอาจต้องใช้วิธีการรักษาเหล่านี้ ควบคู่ไปกับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในการแก้ไขภาวะมีบุตรยาก เพื่อหาแนวทางเพิ่มโอกาสให้กับการตั้งครรภ์ เช่น การทำ IVF หรือ ICSI โดยคลินิกมีบุตรยาก VFC Center พร้อมให้บริการครอบคลุม ทั้งการให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และเสนอทางเลือกในการทำ IVF หรือ ICSI ด้วยราคาสมเหตุสมผล โดยสูตินรีแพทย์ผู้มีประสบการณ์ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ห้องปฏิบัติการได้มาตรฐานระดับสากล
บทความโดย: แพทย์ศรมน ทรงวีรธรรม
ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline: 082-903-2035
LINE Official: @vfccenter
ข้อมูลอ้างอิง:
- การดูแลรักษาภาวะไม่ตกไข่ (Management of Anovulation). สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6026/
- ภาวะไขไมตกเรื้อรังจากกลุ่มอาการ PCOS. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 จาก http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/14_2015-06-27.pdf
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูติ-นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.