เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ด้วยการเสริมกรดโฟลิกอย่างถูกวิธี
การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการได้รับสารอาหารที่จำเป็น ยิ่งถ้าพูดถึงกรดโฟลิกหรือวิตามินบี 9 ถือว่ามีความสำคัญกับการเตรียมตั้งครรภ์อย่างมาก เพราะมีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบประสาทของทารกในครรภ์ ทั้งยังช่วยเสริมสร้างและพัฒนาเซลล์สืบพันธุ์ของทั้งว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ การรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกอย่างเพียงพอจึงควรเริ่มตั้งแต่ช่วงวางแผนการมีบุตร กรดโฟลิกคืออะไร และสำคัญอย่างไรต่อการมีบุตร ? กรดโฟลิกหรือวิตามินบี 9 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างเซลล์และการแบ่งตัวของเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กำลังเตรียมตัวตั้งครรภ์ อย่างที่บอกไปว่า การได้รับกรดโฟลิกในช่วงเตรียมตั้งครรภ์ มีบทบาทสำคัญในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ทั้งไข่และอสุจิ จึงส่งผลดีต่อทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เนื่องจากจะช่วยเพิ่มคุณภาพของเซลล์สืบพันธุ์ ส่งผลให้การปฏิสนธิมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติในโครโมโซมที่อาจส่งผลต่อการพัฒนาของทารก ที่สำคัญ การได้รับกรดโฟลิกอย่างเพียงพอก่อนการตั้งครรภ์ ยังจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการแท้งบุตรได้อีกด้วย ความสำคัญของกรดโฟลิกในช่วงตั้งครรภ์ การพัฒนาระบบประสาทของทารก ประโยชน์ของกรดโฟลิกที่ส่งผลดีกับคนท้อง คือการมีส่วนช่วยต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพัฒนาระบบประสาทและไขสันหลังของทารก การป้องกันความผิดปกติของหลอดประสาท การได้รับกรดโฟลิกอย่างเพียงพอ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติของหลอดประสาท (Neural Tube Defects) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะสมองและไขสันหลังไม่ปิด ซึ่งภาวะนี้อาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคไขสันหลังโหว่ (Spina Bifida) หรือภาวะสมองและกะโหลกศีรษะไม่ปิด (Anencephaly) การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ กรดโฟลิกยังมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดงและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทั้งยังช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในมารดา และส่งเสริมการเจริญเติบโตของรก ปริมาณกรดโฟลิกที่เหมาะสม ปริมาณที่แนะนำสำหรับช่วงเตรียมตั้งครรภ์ ปริมาณกรดโฟลิกที่แนะนำสำหรับผู้หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์คือ 400-800 ไมโครกรัมต่อวัน โดยควรเริ่มรับประทานอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำสำหรับฝ่ายชาย สำหรับผู้ชายที่วางแผนมีบุตรควรได้รับกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมต่อวันเช่นเดียวกันกับผู้หญิง ปริมาณที่แนะนำระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์แล้ว...
วิธีตรวจครรภ์ แบบเห็นผลชัดเจนและแม่นยำ สำหรับผู้มีบุตรยาก
หลังกระบวนการฝังตัวอ่อนไปแล้ว เป็นเรื่องปกติที่ว่าที่คุณแม่อยากจะรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์สำเร็จหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากกระบวนการทำอิ๊กซี่เสร็จสิ้น ซึ่งแพทย์จะทำการนัดหมายเพื่อตรวจการตั้งครรภ์ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมหลังจากนั้น แต่ผู้ที่เข้ารับการฝังตัวอ่อนก็สามารถใช้วิธีตรวจครรภ์เบื้องต้นได้ด้วยตนเองเช่นกัน วิธีตรวจตั้งครรภ์มีกี่แบบ อะไรบ้าง เร็วสุดกี่วัน ? สำหรับคนที่สงสัยว่าหลังจากฝังตัวอ่อนแล้ว กี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง สามารถรู้ได้ด้วยวิธีตรวจครรภ์เหล่านี้ การตรวจตั้งครรภ์แบบจุ่ม (Test Strip) การตรวจครรภ์แบบจุ่ม (Test Strip) เป็นวิธีที่ง่ายและราคาประหยัดที่สุด ทั้งยังสามารถตรวจได้ด้วยตนเอง เพียงแค่ปัสสาวะลงในถ้วยตวง แล้วจุ่มแผ่นทดสอบลงในปัสสาวะ แช่ไว้ประมาณ 3-5 วินาที จากนั้นจึงค่อยนำเอาแผ่นทดสอบขึ้นมา วางทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที เพื่อรออ่านผลลัพธ์ที่ปรากฏขึ้น โดยสามารถตรวจได้หลังจากการฝังตัวอ่อนประมาณ 7-14 วัน การตรวจตั้งครรภ์แบบหยดหรือแบบตลับ (Pregnancy Test Cassette) อีกหนึ่งวิธีที่สามารถตรวจตั้งครรภ์ได้ด้วยตนเอง ด้วยอุปกรณ์ตรวจครรภ์แบบหยดหรือแบบตลับ (Pregnancy Test Cassette) โดยมีขั้นตอนการตรวจที่ทำได้ง่าย ๆ เริ่มจากการปัสสาวะลงในถ้วยตวง จากนั้นนำหลอดดูดน้ำปัสสาวะ แล้วนำไปหยดลงในตลับตรวจครรภ์ประมาณ 3-4 หยด ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที เพื่อรออ่านผลลัพธ์ สำหรับวิธีนี้สามารถตรวจได้หลังจากการฝังตัวอ่อนประมาณ 7-14 วัน การตรวจตั้งครรภ์แบบปากกาหรือแบบปัสสาวะผ่าน (Pregnancy Midstream Tests) อีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมในการตรวจตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง คือการใช้อุปกรณ์ชนิดปากกาในแบบปัสสาวะผ่าน (Pregnancy Midstream Tests) โดยมีวิธีการใช้งานง่าย ๆ เริ่มจากการถอดฝาครอบออก แล้วถือแท่งตรวจครรภ์ขึ้น โดยให้ถอดฝาครอบบริเวณหัวปากกาออก จากนั้นปัสสาวะลงตรงบริเวณที่ต่ำกว่าลูกศรให้ชุ่มประมาณ 30 วินาที แล้วปล่อยทิ้งไว้ในแนวราบ รออ่านผลประมาณ 3-5 นาที สามารถตรวจได้เร็วสุด...
รู้จักโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านโครโมโซมเพศ และวิธีการป้องกัน
ทำความเข้าใจโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านโครโมโซมเพศ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวิธีการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน เพื่อการตั้งครรภ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์...
เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ทุกคู่ เพียงปรึกษาศูนย์ผู้มีบุตรยาก
คลินิกมีบุตรยากไม่ใช่แค่ช่วยรักษาผู้ที่มีปัญหามีบุตรยากเท่านั้น แต่ยังจะช่วยวางแผนครอบครัวให้กับคู่รักทุกคู่ เพื่อการมีลูกที่แข็งแรงสมบูรณ์ในอนาคต...
เข้าใจขั้นตอนการทำ ICSI : ทางเลือกสำหรับคู่สมรสที่มีบุตรยาก
เทคนิค ICSI คืออะไร? ทำความเข้าใจขั้นตอนการทำ ICSI อย่างละเอียด พร้อมเหตุผลที่ช่วยให้การทำ ICSI สามารถเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำหรับคู่สมรสที่มีบุตรยากได้...
ช่วงไหนท้องง่ายที่สุด ? และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์
สำหรับผู้หญิงที่สงสัยว่าช่วงไหนท้องง่ายที่สุด เรามีช่วงอายุที่เหมาะกับการตั้งครรภ์มาบอก พร้อมวิธีเพิ่มโอกาสท้องของผู้หญิงแม้เริ่มมีอายุมากขึ้นมาแนะนำ ...
“ปรึกษาการตั้งครรภ์” เรื่องสำคัญของคู่สมรสที่อยากมีลูก
ชวนทำความเข้าใจความสำคัญของการปรึกษาการมีบุตร มาดูกันว่า ขั้นตอนนี้สำคัญอย่างไร และสัญญาณใดที่บ่งบอกว่า ถึงเวลาแล้วที่เราควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ...
โรค APS คืออะไร เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์อย่างไร ?
โรค APS ภัยเงียบที่คุกคามคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่อาจทำให้เกิดการแท้งซ้ำ มาทำความเข้าใจภาวะของโรค เพื่อลดความกังวลใจ พร้อมให้กำเนิดลูกน้อยที่แข็งแรงปลอดภัย...
ICSI คืออะไร เหมาะกับใคร ? พร้อมแนวทางเลือกคลินิกทำ ICSI
ICSI คืออะไร เหมาะกับใคร ? หากต้องการใช้วิธีนี้ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยาก ควรใช้ปัจจัยใดในการเลือกคลินิกทำ ICSI เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการมีบุตรของคุณ...
ตอบข้อสงสัย! เป็นมะเร็งแต่อยากมีลูก ต้องทำอย่างไร ?
คู่แต่งงานที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นมะเร็งแต่อยากมีลูก จะมีโอกาสมีลูกได้ไหม หรือต้องทำอย่างไรให้มีบุตรได้อย่างที่ตั้งใจ มาไขคำตอบพร้อมกันในบทความนี้...