เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

PGT-M การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ป้องกันการส่งต่อโรคทางพันธุกรรม

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนด้วยวิธี PGT-M

โปรแกรมตรวจ PGT-M เป็นการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ก่อนการฝังตัวอ่อน ซึ่งเป็นการดูความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม เพื่อทำการคัดกรองและป้องกันการถ่ายทอดความผิดปกติ ที่จะส่งต่อโรคผ่านทางพันธุกรรม ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technologies : ART) ที่มีประโยชน์อย่างมากในการวางแผนมีบุตร

ทำความรู้จักกับเทคโนโลยีการคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนที่สมบูรณ์ และการตรวจหาโรคทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการย้ายเข้าสู่มดลูกของฝ่ายหญิง ด้วยวิธีการตรวจ PGT-A (Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy) กับเทคนิคการตรวจวินิจฉัยยีนเดี่ยวอย่าง PGT-M (Preimplantation Genetic Testing for Monogenic disorder)ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

เจาะลึกการตรวจความผิดปกติของยีนบนโครโมโซมตัวอ่อน PGT-M

การตรวจ PGT-M (Preimplantation Genetic Testing for Monogenic Disorder) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของยีนบนโครโมโซมตัวอ่อน พร้อมช่วยป้องกันการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมจากพ่อแม่และคนในครอบครัวที่เป็นพาหะสู่บุตรได้

ประโยชน์ของการตรวจ PGT-M

การตรวจเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของยีนบนโครโมโซมตัวอ่อน เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคทางพันธุกรรมในทารก ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะต้องยุติการตั้งครรภ์ และลดโอกาสที่ทารกจะเกิดมาพร้อมความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลไปตลอดชีวิต เพราะการที่ลูกมีความผิดปกติทางพันธุกรรมย่อมกระทบกับการใช้ชีวิตในระยะยาว เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงบรรเทาไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นเท่านั้น

นอกจากจะเป็นการวางแผนชีวิตให้ลูกได้เติบโตอย่างสมบูรณ์และแข็งแรงในระยะยาวแล้ว ยังเป็นการช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อตัวทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เสี่ยงต่ออาการป่วยหลังคลอดที่อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้การคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน เพื่อป้องกันการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมด้วยการตรวจ PGT-M กลายเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยตัดปัญหาโรคทางพันธุกรรมของครอบครัวให้หมดไปอีกด้วย

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนและโรคทางพันธุกรรมก่อนฝังตัวอ่อน บ่งชี้โรคใดได้บ้าง ?

  • โรคธาลัสซีเมีย: โรคโลหิตจางชนิดร้ายแรงที่ส่งผลต่อการผลิตฮีโมโกลบิน
  • โรคฮีโมฟีเลีย: โรคเลือดออกง่าย เนื่องจากร่างกายขาดโปรตีนที่จำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือด
  • ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD: โรคโลหิตจางที่เกิดจากภาวะการขาดเอนไซม์ G6PD ส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • กลุ่มอาการดาวน์: ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน 1 แท่ง ส่งผลต่อพัฒนาการทั้งร่างกายและสติปัญญา
  • กลุ่มอาการเทอร์เนอร์: ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดจากโครโมโซมเพศ X หายไปหนึ่งส่วน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาทางเพศ
  • กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด: ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกิน 1 แท่ง อาจทำให้มีปัญหาปากแหว่ง เพดานโหว่ นิ้วมือและเท้าบิดงอผิดรูป มีหัวใจและไตพิการ ปอดและทางเดินอาหารผิดปกติ ไอคิวต่ำ และมีโอกาสที่เด็กจะเสียชีวิตภายใน 1 ปี

วิธีการตรวจ PGT-M

การตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน PGT-M จะใช้วิธีการดึงเซลล์ของตัวอ่อนเพียงเล็กน้อยออกมาวิเคราะห์ถึงระดับยีน โดยปัจจุบันสามารถทำได้ 2 ระยะ คือ เมื่อตัวอ่อนอายุได้ 3 วัน และเมื่อตัวอ่อนอายุได้ 5 วัน แต่การทำเมื่อตัวอ่อนระยะ 5 วัน จะทำให้มั่นใจว่าได้ตัวอ่อนที่แข็งแรงมากกว่า และแนวโน้มมีศักยภาพที่จะเจริญเติบโตต่อไปได้ จากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่ตรวจแล้วว่าไม่มียีนที่เป็นโรค ย้ายกลับเข้าไปที่มดลูกของคุณแม่เพื่อให้การตั้งครรภ์สมบูรณ์

ขั้นตอนการตรวจ PGT-M

  1. ตรวจประวัติ และขอทำการทดสอบเพิ่มเติม เพื่อเก็บข้อมูลทางพันธุกรรม เพื่อนำไปประเมินว่าจะสามารถเข้ารับการตรวจในโปรแกรมนี้ได้หรือไม่
  2. หลังประเมินเสร็จสิ้น จะเริ่มทำการตรวจด้วยการทำเด็กหลอดแก้วจากวิธี ICSI โดยการนำไข่ของฝ่ายหญิงมาผสมกับอสุจิของฝ่ายชาย เพื่อสร้างตัวอ่อนที่มีคุณภาพก่อนจะนำไปตรวจโครโมโซมตัวอ่อน
  3. เพาะเลี้ยงตัวอ่อนและทำ Embryo biopsy โดยตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงภายใต้สภาวะควบคุมจนถึงระยะซึ่งเป็นบลาสโตซิสต์ในวันที่ 5 หรือวันที่ 6 หลังจากนั้นจะทำการดึงเซลล์ของตัวอ่อนออกมาเล็กน้อยเพื่อตรวจโครโมโซมตัวอ่อน
  4. ทำการทดสอบทางพันธุกรรม สารพันธุกรรมของตัวอ่อนจะถูกวิเคราะห์เพื่อตรวจหาการกลายพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจง เพื่อทำการแบ่งเกรดโครโมโซมตัวอ่อน และทำการคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนที่สมบูรณ์ และไม่มีความผิดปกติที่ก่อให้เกิดโรคทางพันธุกรรมมาฝังในโพรงมดลูกต่อไป

ใครบ้างที่ควรตรวจ PGT-M ?

  • เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือเป็นพาหะโรคทางพันธุกรรม
  • เหมาะสำหรับคู่สมรสที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคทางพันธุกรรม หรือเป็นพาหะโรคทางพันธุกรรม
  • เหมาะสำหรับคู่สมรสที่กำลังวางแผนครอบครัวและตั้งใจจะมีลูก

การวางแผนมีบุตร คู่สมรสควรให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองทุกประเภท ตั้งแต่การตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ตลอดจนการคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน เพื่อป้องกันทุกความเสี่ยงที่จะทำให้การตั้งครรภ์ล้มเหลว หรือส่งต่อความเสี่ยงไปยังลูกน้อย เพื่อให้ลูกที่เกิดมามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อไปในอนาคต

ทำไมถึงควรเลือกตรวจ PGT-M ที่ VFC Center ?

VFC Center เป็นศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรแห่งแรกของโลก ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลเกี่ยวกับการรักษาผู้มีบุตรยาก ทำให้มั่นใจได้ว่าจะส่งมอบการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และปลอดภัย ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและครบครัน สำหรับคู่รักที่อยากเพิ่มโอกาสให้กับการมีบุตร และสนใจการตรวจ PGT-M ซึ่งเป็นการตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนย้ายไปฝังในโพรงมดลูก เพื่อช่วยให้คุณได้เติมเต็มแผนการมีบุตรได้อย่างอุ่นใจ

สามารถติดต่อรับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ โทร.082-903-2035