เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

ตรวจภาวะมีบุตรยาก และการรักษาด้วยเทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร

การประเมินภาวะมีบุตรยาก (Infertility Screening)

‘ภาวะมีบุตรยาก’ หนึ่งในปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการสร้างครอบครัวของคู่รักหลายคู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ‘คู่รักที่มีอายุมาก’ และ ‘คู่รักที่มีปัญหาสุขภาพด้านระบบสืบพันธุ์’ ทำให้ต้องเผชิญกับความล้มเหลวในการพยายามมีบุตร อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้สามารถรักษาภาวะนี้ได้ด้วยหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการมีบุตรยากในแต่ละบุคคล

เพื่อเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์และอบอุ่น การเข้ารับคำปรึกษาการมีบุตรยากกับแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตรได้ ไม่ว่าจะจากโรงพยาบาลชั้นนำหรือศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยากที่ผ่านการรับรองมาตรฐานทางการแพทย์ทั้งในประเทศและระดับสากล นอกจากนี้ ยังจะเป็นการตรวจประเมินภาวะมีบุตรยากที่แม่นยำ ปลอดภัย และได้รับการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมที่สุด

ภาวะมีบุตรยากคืออะไร ?

ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) เป็นภาวะที่เกิดกับคู่สมรสที่มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่เกิดการตั้งครรภ์ โดยเฉลี่ยแล้ว หากมีเพศสัมพันธ์อยู่ที่สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และไม่มีการคุมกำเนิดติดต่อกันประมาณ 6 – 12 เดือน จะนับว่าเข้าข่ายภาวะมีบุตรยาก ซึ่งต้องเข้ารับการตรวจหาสาเหตุ โดยครอบคลุมทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เพื่อวางแผนการรักษาภาวะมีบุตรยากให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สาเหตุของ ‘ภาวะมีบุตรยาก’

ภาวะมีบุตรยากสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งการตรวจภาวะมีบุตรยาก จะมีทั้งโปรแกรมสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย โดยใช้เทคโนโลยีการตรวจประเมินที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม โดยในปัจจุบัน สาเหตุของภาวะมีบุตรยากสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย โดยสามารถแยกได้ดังนี้

1. สาเหตุจากฝ่ายชาย (Male Factor)

  • ปัญหาอสุจิ เช่น ปริมาณอสุจิน้อย หรือตรวจไม่พบตัวอสุจิในน้ำอสุจิ โดยลักษณะการตรวจประเมินภาวะมีบุตรยากจากสาเหตุนี้ จะเป็นการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ (Semen Analysis) ที่ช่วยบอกถึงสุขภาพของอสุจิ รูปร่างของอสุจิ ความเข้มข้น และการเคลื่อนที่ที่มีผลต่อการสืบพันธุ์
  • การติดเชื้อที่ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ และระบบอวัยวะเพศ เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ โรคเริมที่อวัยวะเพศ โรคหนองใน เพราะอาจทำให้ทางเดินน้ำอสุจิเกิดภาวะตีบแคบ ส่งผลให้มีปัญหาในการสร้างเชื้ออสุจิ
  • ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ (Hypogonadism) ส่งผลให้ลูกอัณฑะไม่สามารถทำหน้าที่ผลิตเชื้ออสุจิได้อย่างเหมาะสม ทำให้มีตัวอสุจิน้อย หรือไม่สามารถตรวจพบได้ในน้ำอสุจิ
  • เส้นลำเลียงน้ำเชื้ออสุจิโป่งพอง (Varicocele) อีกหนึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยจากการตรวจภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย โดยเส้นลำเลียงน้ำเชื้อจะมีความโป่งพอง ขยายตัว จึงไปขัดขวางการเคลื่อนที่ของอสุจิ จนไม่สามารถปลดปล่อยออกมาได้เพียงพอต่อการตั้งครรภ์
  • โรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เช่น โรคตับ โรคไต โรคเม็ดเลือดขาวรูปเคียว เป็นต้น
  • มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ เช่น การหลั่งเร็ว หรือการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ทำให้กลายเป็นอุปสรรคในการมีเพศสัมพันธ์ได้
  • ปัจจัยในการดำเนินชีวิต เช่น การรักษาโรคด้วยรังสี การได้รับสารพิษอย่างตะกั่ว หรือยาฆ่าแมลง มีการใช้สารเสพติด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รวมถึงออกกำลังมากไป ก็อาจทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำ ส่งผลให้การผลิตอสุจิลดลง รวมถึงการอาบน้ำร้อนบ่อย ๆ ก็อาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชายได้เช่นกัน

2. สาเหตุจากฝ่ายหญิง (Female Factor)

  • ภาวะตกไข่ผิดปกติ (Ovulation disorder) ปัญหาที่ไข่ไม่ตกออกจากรังไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ สังเกตได้จากรอบวันที่น้อยกว่า 21 วัน หรือมากกว่า 36 วัน ส่งผลให้มีโอกาสตั้งครรภ์น้อยลง
  • ปัญหาบริเวณท่อนำไข่ (Tubal Factor) เช่น ท่อนำไข่ตีบตันที่ทำให้เกิดปัญหาการนำส่งไข่ หรืออาจมีการท้องนอกมดลูกได้ นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงปัญหาท่อนำไข่อุดตันจากการอักเสบติดเชื้อ การผ่าอุ้งเชิงกราน และภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่อีกด้วย
  • ความผิดปกติของมดลูก เช่น การมีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Endometrial polyp) เนื้องอกในโพรงมดลูก (Submucous Myoma) พังผืดในโพรงมดลูก (Intrauterine Adhesion) ก่อนรักษาภาวะมีลูกยากควรทำการผ่าตัดก่อน เพื่อเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์
  • ภาวะประจำเดือนหมดก่อนวัย หรือวัยทองก่อนวัยอันควร หนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยในการตรวจภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากมดลูกและรังไข่ทำงานผิดปกติ ฟองไข่ในรังไข่จึงสลายเร็ว หรือมีฟองไข่แต่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ โดยจะพบภาวะนี้ได้บ่อยกับผู้หญิงในช่วงอายุ 45-50 ปี

3. ภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ (Unexplained Infertility)

ภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ สามารถพบได้ร้อยละ 5-10 ของคู่สมรสทั่วไป โดยสาเหตุนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงได้รับการตรวจภาวะมีบุตรยากครบทุกรายการแล้ว แต่ไม่พบความผิดปกติใด ๆ และมักพบได้บ่อยในระหว่างขั้นตอนการปฏิสนธิ จากวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว

เมื่อไหร่จึงควรตรวจประเมินภาวะมีบุตรยาก ?

สัญญาณที่บ่งบอกชัดเจนว่าคู่ของคุณกำลังประสบกับปัญหาภาวะมีบุตรยาก คือการที่พยายามมีบุตรด้วยการมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้คุมกำเนิดเป็นระยะเวลา 6 – 12 เดือน หากมีสัญญาณดังกล่าว ควรเข้ารับคำปรึกษาการมีบุตรยากกับแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อเข้ารับการตรวจประเมินและการรักษาภาวะมีบุตรยากต่อไป

ขั้นตอนก่อนตรวจประเมินภาวะมีบุตรยาก

ก่อนตรวจภาวะมีบุตรยากทั้งในผู้ชายและผู้หญิงด้วยเทคนิคต่าง ๆ อันดับแรกต้องเริ่มที่การเข้ารับคำปรึกษาการมีบุตรยากกับแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ เพื่อทำการซักประวัติและประเมินภาวะมีบุตรยากจากปัญหาที่เกิดขึ้น โดยในขั้นตอนนี้จะเป็นการสอบถามข้อมูลโดยละเอียด ดังนี้

  • ประวัติการคุมกำเนิด
  • ประวัติการตั้งครรภ์
  • ประวัติการบันทึกรอบเดือน
  • ประวัติโรคประจำตัว
  • ประวัติการผ่าตัดที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก
  • ประวัติการตรวจหรือเคยทำการรักษามาก่อน

ตรวจมีบุตรยากในผู้ชายและผู้หญิง ต้องตรวจอะไรบ้าง ?

การตรวจภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย

การตรวจหาสาเหตุมีลูกยากในฝ่ายชายนั้นจะเป็นการตรวจความสมบูรณ์ของเชื้ออสุจิ (Semen analysis) หรือที่เรียกว่าการตรวจสเปิร์ม โดยแพทย์จะทำการตรวจความสมบูรณ์ของน้ำเชื้อในด้านของปริมาณอสุจิในน้ำเชื้อ ความเร็วในการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ ไปจนถึงขนาด รูปร่าง และความสมบูรณ์ของตัวอสุจิ โดยก่อนเข้ารับการตรวจเชื้ออสุจิ ฝ่ายชายควรพักผ่อนให้เพียงพอ งดการหลั่งอสุจิเป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 วัน พร้อมทั้งงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และสารเสพติดทุกชนิด

วิธีการตรวจภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย

  • การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ (Semen Analysis) หาสาเหตุโดยการตรวจจากอสุจิเป็นหลัก เพื่อดูปริมาณน้ำอสุจิ (Volume) จำนวนตัวอสุจิ (Number of sperm) รูปร่างของอสุจิ (Shape of sperm) และการเคลื่อนที่ของอสุจิ (Sperm Motility) เพื่อนำผลอสุจิไปวินิจฉัยและช่วยวางแผนการรักษาภาวะมีบุตรยากให้ตรงจุด
  • การตรวจดูฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) เป็นการตรวจหาสาเหตุมีลูกยาก โดยเน้นไปที่ปัญหาการสร้างตัวอสุจิและลูกอัณฑะ โดยการตรวจฮอร์โมน FHS จะเป็นการตรวจเพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติของฮอร์โมน หากค่าฮอร์โมนสูง จะหมายถึงลูกอัณฑะไม่สามารถสร้างตัวอสุจิได้ แต่ถ้าค่าฮอร์โมน FHS ต่ำ จะหมายความว่าต่อมใต้สมองมีความผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการสร้างตัวอสุจิน้อยลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย

การตรวจภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง

การตรวจหาสาเหตุมีลูกยากในฝ่ายหญิงนั้น จะตรวจถึงความปกติและการทำงานที่สมบูรณ์ของมดลูก ท่อนำไข่ และ ฮอร์โมนเพศ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการตั้งครรภ์ หากมีความผิดปกติในส่วนใดส่วนหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิงได้

วิธีการตรวจภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง

  • การตรวจระดับฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมน FSH ฮอร์โมน AMH และฮอร์โมน LH เป็นการตรวจหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก โดยแต่ละประเภทของฮอร์โมนจะบ่งบอกถึงปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
    • ฮอร์โมน FSH ตรวจเพื่อดูการทำงานของรังไข่ว่ามีปัญหาหรือไม่ หากระดับฮอร์โมนต่ำกว่า 4 mIU/ml หมายถึงรังไข่มีขนาดเล็ก จะส่งผลให้มีลูกยาก
    • ฮอร์โมน AMH ตรวจเพื่อประเมินความสามารถในการทำงานของรังไข่ และประเมินหาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Ploycystic Ovary Syndrome: POCS) รวมถึงยังช่วยประเมินหาภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนดที่เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้มีลูกยาก
    • ฮอร์โมน LH ตรวจเพื่อดูอัตราการกระตุ้นรังไข่ หากไม่มีฮอร์โมนชนิดนี้จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ในกรณีที่มีค่าของฮอร์โมน LH สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ารังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร หรือเกิดภาวะรังไข่มีถุงน้ำหลายใบได้เช่นกัน
  • การฉีดสีดูท่อนำไข่และโพรงมดลูก (HSG) เพื่อตรวจดูลักษณะภายในมดลูกและปีกมดลูกว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยจะทราบความผิดปกติได้จากภาพเอกซเรย์ เช่น มีติ่งเนื้อภายในมดลูก มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ หรือท่อรังไข่อุดตัน รวมไปถึงตรวจดูพังผืดบริเวณท่อนำไข่ที่เป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก
  • การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Diagnostic Hysteroscopy) เป็นวิธีที่จะช่วยให้แพทย์มองเห็นภายในโพรงมดลูกในฝ่ายหญิง เพื่อตรวจหาความผิดปกติ เช่น เนื้องอก ติ่งเนื้อภายในโพรงมดลูก หรือตรวจหาผนังกั้นในโพรงมดลูก เป็นต้น
  • การอัลตราซาวนด์มดลูกและรังไข่ (TVS) เป็นการตรวจภาวะมีบุตรยาก เพื่อหาความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ เช่น มะเร็งปากมดลูก ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ เนื้องอกในมดลูก รวมถึงก้อนเนื้อภายในอุ้งเชิงกราน

ส่วนการตรวจอื่น ๆ เช่น การตรวจปัจจัยด้านปากมดลูก, การทำ Postcoital Test, การตรวจวัด Basal Body Temperature หรือ BBT Chart , การตรวจการทำงานของอสุจิหรือ Sperm Function Tests นั้นไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์ต่อการดูแลรักษา จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งนี้การตรวจมีบุตรยากในแต่ละวิธีจะมีราคาและใช้เทคนิคที่แตกต่างกันออกไป

ข้อแนะนำในการเตรียมตัวก่อนปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก

  1. สังเกต และบันทึกความพยายามตั้งครรภ์ เช่น พยายามมีลูกมานานแค่ไหน มีเพศสัมพันธ์บ่อยไหม อย่างไร
  2. บันทึกประวัติสุขภาพ การรักษาโรค ยา และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ทาน
  3. เตรียมคำถามที่อยากปรึกษาแพทย์ให้พร้อม เพื่อจะได้ถามคำถามที่สงสัยได้อย่างครบถ้วน
  4. เตรียมใจให้พร้อมเพื่อพูดคุยถึงความเสี่ยง และผลลัพธ์ที่อาจไม่เป็นอย่างที่ต้องการ
  5. งดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจมีผลต่อสุขภาพ และความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติดอื่น ๆ

ทางเลือกในการรักษาภาวะมีบุตรยาก

1. การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI)

การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกเหมาะกับฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง และฝ่ายชายมีปริมาณอสุจิปกติหรือมีปริมาณอสุจิน้อยแต่รูปร่างปกติดี

2. การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)

การทำเด็กหลอดแก้วคือการคัดไข่ และคัดอสุจิที่แข็งแรงมาผสมกันเองภายนอกร่างกายฝ่ายหญิง และนำไข่ที่ถูกผสมแล้วกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์

3. การทำอิ๊กซี่ (ICSI)

การทำอิ๊กซี่คือการคัดอสุจิหนึ่งตัวที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุด มาฉีดเข้าไปในไข่หนึ่งใบที่ถูกคัดเลือกไว้แล้วเช่นกัน ก่อนนำไข่ที่ถูกผสมแล้วกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์

แพ็กเกจตรวจภาวะมีบุตรยากจาก VFC Center

หากกำลังเลือกว่าจะตรวจภาวะมีบุตรยากที่ไหนดี ที่ VFC Center ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก เรามีโปรแกรมตรวจสุขภาพคู่ “PERFECT INFERTILITY PROGRAM” ที่เหมาะกับคู่รักที่กำลังเตรียมตัวจะแต่งงานและวางแผนมีลูก โดยโปรแกรมนี้คู่รักจะได้รับการตรวจภาวะมีบุตรยาก และตรวจหาโรคต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมต่อการมีบุตรรวม 15 รายการ นอกจากนี้ ยังฟรี ! บริการฉีดสีท่อนำไข่โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในราคาเพียง 22,292 บาทเท่านั้น

* ราคาค่าใช้จ่ายในการตรวจ และรักษาภาวะมีบุตรยากอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับการตรวจวินิจฉัยของแพทย์